วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

3 ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการบันทึกภาพย้อนหลัง



เรารู้กันดีว่าข้อดีของระบบกล้องวงจรปิดก็คือ เราสามารถดูวีดีโอเหตุการณ์ย้อนหลังย้อนหลังได้ นั้นทำให้เรารู้ว่าในแต่ละช่วงเวลาที่ผ่านมามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น แต่ว่าคุณเคยปัญหาแบบนี้บ้างไหม ที่เวลาเกิดเรื่องร้ายขึ้นแล้วคุณต้องการจะดูภาพย้อนหลัง แต่กลับไม่มีวีดีโอในช่วงเวลาหรือวันที่เกิดเหตุการณ์บันทึกอยู่เลย หรืออย่างคุณต้องการดูภาพเหตุการณ์เมื่ออาทิตย์แล้ว ก็ไม่สามารถดูภาพของวันนั้นได้ ซึ่งสาเหตุที่เราไม่สามารถทำอย่างนั้นได้เป็นเพราะว่าเครื่องบันทึกของเรา เมื่อบันทึกวีดีโอจนเต็มพื้นที่ Harddisk แล้ว เครื่องบันทึกจะทำการลบวีดีโอที่เก่าออกไปเพื่อที่จะได้เพิ่มบันทึกวีดีโอใหม่ ด้วยเหตุนี้เราจึงจะมาบอกพวกคุณว่า ปัจจัยหลักที่จะช่วยให้เครื่องบันทึกเก็บภาพย้อนหลังได้มากขึ้นมีอะไรบ้าง

1. Harddisk
ไม่ว่าจะมือถือหรือคอมพิวเตอร์ ความจุในการเก็บข้อมูลก็เป็นเรื่องสำคัญ และเครื่องบันทึกก็ไม่ต่างกัน ยิ่งมีความจุที่สูง นั้นหมายความว่าเรามีพื้นที่ในการเก็บข้อมูลได้มากเท่านั้น ถ้าเราอยากเก็บภาพให้ได้เยอะๆ ก็เลือกซื้อ Harddisk ที่มีความจุสูงๆ มาใช้ ถ้าจะให้ดีก็เลือกใช้ Harddisk สำหรับกล้องวงจรปิดไปเลยจะดีกว่า แต่ว่าก่อนที่จะเลือกซื้อให้คุณดูสเปคเครื่องบันทึกก่อนว่า รองรับความจุได้สูงสุดเท่าไหร่ เพราะถ้าซื้อ Harddisk ที่มีความจุสูงมาแต่เครื่องรองรับไม่ถึงคุณอาจต้องร้องไห้เสียดายเงินที่จ่ายซื้อไปแน่ หรือใครที่คิดจะซื้อ Harddisk มาต่อเพิ่ม ดูก่อนว่าเครื่องบันทึกของคุณรองรับ Harddisk ได้กี่ลูก ถ้าไม่อยากเจอเหตุการณ์ซื้อมาแต่ไม่ได้ใช้


2. Frame Rate ของกล้องวงจรปิด
แน่นอนว่าการเลือกเปลี่ยนหรือเพิ่มความจุ Harddisk เป็นวิธีที่ง่ายๆ ที่สุด ในการเพิ่มความจุเครื่องบันทึก แต่ว่าบ้างคนไม่ได้มีงบประมาณหรือเงินมากมายพอ ที่จะการเลือกซื้อ Harddisk ที่มีความจุสูงๆ ดังนั้นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้บันทึกภาพย้อนหลังได้มากขึ้นนั้นก็คือ การปรับค่า Frame Rate ของกล้องวงจรปิด ข้อดีก็คือมันจะช่วยลดการใช้พื้นที่ความจุใน Harddisk ทำให้มีพื้นเหลือมากขึ้น บันทึกวีดีโอได้มากขึ้น แต่ว่ามีข้อเสียคือกล้องวงจรปิดที่ปรับค่า Frame Rate ได้ส่วนใหญ่เป็นกล้องวงจรปิดประเภท IP Camera และการปรับค่า Frame Rate มีผลต่อคุณภาพความละเอียดของวีดีโอด้วย


3. Video Compression ของเครื่องบันทึก
อีกปัจจัยที่จะช่วยลดการใช้งานพื้นที่ความจุของ Harddisk คือเทคโนโลยีการบีบอัดวีดีโอของเครื่องบันทึก เครื่องบันทึกสามารถบีบอัดไฟล์วีดีโอของกล้องวงจรปิดให้เล็กลงได้ แต่ว่าเราก็ต้องไปตั้งค่าการใช้งานก่อน ซึ่งส่วนใหญ่นิยมตั้งค่า Video Compression เป็น H.265 ขึ้นไป ข้อดีของการตั้งค่าการบีบอัดวีดีโอนี้คือ เราจะได้ไฟล์วีดีโอที่มีความจุเล็กลง แต่คุณภาพเท่าเดิมหรืออยู่ในระดับดีที่สุด และด้วยวิธีนี้บางที Harddisk 1TB ของคุณอาจจะเก็บภาพย้อนหลังได้ 10 – 15 วันเลยก็ได้ แต่แน่นอนว่าการตั้งค่าการบีบอัดวีดีโอขึ้นอยู่กับว่าเครื่องบันทึกรองรับเทคโนโลยีการบีบอัดอะไรบ้าง

ปัจจัยทั้งหมดนี้ก็คือสิ่งที่จะทำให้เครื่องบันทึกของคุณเก็บภาพเหตุการณ์ย้อนหลังได้มากขึ้น โดยส่วนมากเราจะนิยมใช้วิธีการตั้งค่า Video Compression มากกว่า เพิ่มความจุ Harddisk เพราะบางคนก็ไม่สะดวกที่จะเปลี่ยนหรือจ่ายเงินมากกว่าเพื่อเพิ่มความจุ แต่ว่าเครื่องบันทึกบางรุ่นวิธีนี้อาจไม่ได้ช่วยอะไรมากจึงต้องอาศัยการตั้งค่า Frame Rate เข้ามาช่วยด้วย ดังนั้นระบบกล้องวงจรปิดของเราจะบันทึกภาพย้อนหลังได้นานแค่ไหน และมีประสิทธิภาพดีแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าและความชำนาญของช่างติดตั้งกล้องวงจรปิดของคนนั้นๆ ด้วย

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่าย


อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยี กลายเป็นอีกปัจจัยหนึ่งต่อการดำเนินชีวิต ทุกคนๆ ในโลกต่างใช้อินเทอร์เน็ตในการสื่อสารและรับข่าวสารข้อมูล ดังนั้นในหลายแห่งจะต้องมีการติดตั้งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ เพื่อรับข่าวสารข้อมูลและติดต่อสื่อสารกันในระยะไกล ในบทความนี้เราจึงนำเสนอความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเครือข่าย ว่าการสื่อสารหรือการรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายมีรูปแบบการสื่อสารกันอย่างไร

องค์ประกอบของระบบการสื่อสาร
การสื่อสารข้อมูลไม่ว่าจะเป็นคนหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ จะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบหลายประการ โดยพื้นฐานแล้วระบบการสื่อสารข้อมูลจะประกอบไปด้วย 5 ส่วนสำคัญดังนี้

ข้อมูล (Data) คือสิ่งที่เราต้องการส่งไปยังปลายทาง เช่น ข่าวสารหรือสารสนเทศ อาจเป็นข้อความ ภาพ วิดีโอ หรือสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งข้อมูลที่ส่งไปจะผ่านสื่อกลางอาจจะเป็นแบบมีสายและแบบไม่มีสายก็ได้ เมื่อไปถึงปลายทางผู้รับจะต้องสามารถเข้าใจข่าวสารนั้นได้

ฝ่ายส่งข้อมูล (Sender) คือ แหล่งกำเนิดข่าวสาร (Source) หรืออุปกรณ์ที่นำมาใช้สำหรับส่งข่าวสาร ตัวอย่างอุปกรณ์ส่งข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เร้าท์เตอร์ เป็นต้น

ฝ่ายรับข้อมูล (Receiver) คือ จุดหมายปลายทางของข่าวสาร (Destination) หรืออุปกรณ์ที่นำมาใช้สำหรับรับข่าวสารที่ส่งมาจากฝ่ายส่งข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ เร้าท์เตอร์ เป็นต้น

สื่อกลางส่งข้อมูล (Media) คือ ช่องทางการติดต่อสื่อสารที่จะนำเอาข้อมูลข่าวสารจากฝ่ายส่งข้อมูลไปยังฝ่ายรับข้อมูล ซึ่งเป็นเสมือนเส้นทางที่ลำเลียงข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง โดยปัจจุบันสื่อกลางมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ แบบมีสาย เช่น สายคู่บิตเกลียว สายใยแก้วนำแสง และแบบไม่มีสาย เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นอินฟราเรด เป็นต้น

โพรโตคอล (Protocol) คือ มาตรฐานหรือข้อตกลงที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสารร่วมกันระหว่างฝ่ายผู้ส่งกับฝ่ายผู้รับ นั้นก็คือการสื่อสารจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าผู้รับสารได้เข้าใจสารตรงตามที่ผู้ส่งต้องการหรือไม่ กรณีที่ผู้รับสารเข้าใจข่าวสารผิดพลาดจะถือได้ว่าการสื่อสารนั้นลมเหลว เช่น คนไทยต้องการสื่อสารกับคนลาว โดยต่างคนต่างพูดภาษาของตนเองรับรองว่า ไม่สามารถสื่อสารกันได้อย่างแน่นอน จำเป็นต้องมีภาษากลางที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับ ในที่นี้ให้เป็นภาษาอังกฤษ ทั้งคนไทยและคนลาวก็ใช้ภาษาอังกฤษติดต่อสื่อสารกันก็จะสื่อสารกันเข้าใจ โพรโตคอลในที่นี้คือภาษาอังกฤษ เป็นต้น

รูปแบบการสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่าย

การสื่อสารแบบ Unicastลักษณะการสื่อสารแบบ Unicast เป็นโหมดการรับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งในระบบเครือข่ายในลักษณะ 1 ต่อ 1 หรือเรียกว่า One-to-One การส่งลักษณะนี้ ตัวเราท์เตอร์ ใช้โพรโทคอลในการค้นหาเส้นทางระหว่างโหนด เช่น Routing Internet Protocol version 2 (RIP), Open Shortest Path Finding version 2 (OSPF) เป็นต้น



การสื่อสารแบบ Broadcast การสื่อสารแบบ Broadcast โหมดนั้นเป็นการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ต้นทางหนึ่งเครื่องไปยังเครื่องปลายทางทุกเครื่องที่ติดต่ออยู่ในลักษณะของการแพร่กระจายข้อมูล แบบ 1 ต่อ ทั้งหมด หรือเรียกว่า One-to-All



การสื่อสารแบบ Multicast โหมดการสื่อสารข้อมูลแบบ Multicast เป็นการส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทางหนึ่งไปยังกลุ่มของเครื่องปลายทางเฉพาะกลุ่มที่มีการกำหนดแบบ 1 ต่อกลุ่มเฉพาะ หรือ One-to-N ซึ่ง N ในที่นี้อยู่ตั้งแต่ 0 ถึง ทั้งหมด การส่งข้อมูลจะส่งไปยังเฉพาะกลุ่มที่ต้องการรับข้อมูลเท่านั้น การส่งข้อมูลแบบนี้จะแตกต่างจาก Unicast และ Broadcast มาก คือ ข้อมูลจะถูกส่งจากต้นทางเพียงแพ็กเก็ต (Packet) เดียวและจะถูกส่งต่อโดยตัวเราท์เตอร์ จนถึงกลุ่มเครือข่ายปลายทาง และจะส่งแพ็กเก็ต ข้อมูลไปยังเครื่องในกลุ่มเฉพาะ (Multicast Group) ที่กำหนด โดยจะทำการคัดลอกแพ็กเก็ตข้อมูลแล้วส่งให้แก่เครื่องปลายทางทุกเครื่องที่ต้องการ

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

เกร็ดความรู้เรื่องกระแสไฟฟ้า AC/DC



การทำความรู้จักหรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของ ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และ ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) นั้นเป็นเรื่องพื้นฐานเลยทีเดียวก็ว่าได้ เพราะเป็นหัวใจหลักในการเลือกซื้อเครื่องมือวัดไฟ หรือเลือกฟังก์ชั่นในการใช้งานเครื่องมือวัดไฟนั้นเอง

ซึ่งอย่างที่เราทุกคนเข้าใจกันดีว่าในประเทศไทยของเรา อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างที่ทำออกมา รองรับ การใช้งานกับไฟบ้านหรือกับไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ซึ่งมีค่าแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 220 โวล์ ส่วนไฟฟ้าที่อยู่ในพวกแผงวงจร หรือไฟฟ้าที่มาจากถ่านไฟฉายนั้น เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) นั้นเอง

ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating current)



ไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าไปในทางกลับกัน คือกระแสไฟจะไม่มีขั้วไฟฟ้าว่าเป็นขั่วบวกหรือขั่วลบ และจะมีทิศทางการไหลที่กลับไปกลับมาอยู่ตลอดเวลา โดยอัตราการเปลี่ยนทิศทางนี้เราเรียกว่าความถี่ของไฟกระแสสลับ มีหน่วยวัดเป็นเฮิร์ท(Hz) ซึ่งก็คือจำนวนรอบคลื่นต่อ หนึ่งวินาที (ไฟบ้าน ในประเทศไทยใช้ความถี่ 50Hz) และภาพลักษณะการไหลเราจะเรียกกันว่า Sine Wave นั้นเอง ดังภาพด้านล่างครับ

ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current)



ไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลเพียงทิศทางเดียวจากขั้วลบของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า แล้วไหลผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้า แล้วกลับเข้าไปยังขั้วบวกของแหล่งกำเนิดไฟฟ้าอีกครั้ง ภาพด้านล่างเป็นภาพลักษณะรูปคลื่นไฟฟ้าของไฟฟ้ากระแสตรง

ทำไมไฟบ้าน เราจึงใช้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC)

สาเหตุที่ไฟฟ้าตามบ้านส่งแบบกระแสสลับ (AC) ประเด็นหลักๆ ก็มีอยู่สองข้อใหญ่

ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) นั้นส่งได้ไกลกว่า ไฟฟ้ากระแสตรง (DC)มาก เนื่องจากเวลาส่งกระแสไฟฟ้ามาตามสายไฟ ถ้าเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ก็ทำให้แรงเคลื่อนสูงมากไม่ได้ ต้องเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ต่ำ ทำให้ต้องส่งกระแสไฟฟ้าที่มาก เมื่อส่งกระแสที่มากก็จะมีค่าการสูญเสียพลังงานไปตามสายส่งไฟฟ้ามากด้วย

แต่ถ้าเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เขาจะแปลงกระแสไฟ ให้เป็นไฟฟ้าแรงสูงก่อนที่จะส่งมาตามบ้านเรือน (ที่เราเห็นเสาไฟฟ้าแรงสูงอยู่ทั่วไปนั้นเอง) แล้วมาลดกลับที่ปลายทางโดยผ่านหม้อแปลง (Transformer)  แต่หากเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จะไม่สามารถทำได้โดยง่าย

ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) นั้น สามารถแปลงแรงดันให้มากขึ้น หรือลดต่ำลงได้ โดยการใช้หม้อแปลง (Transformer) ซึ่งในการแปลงแรงดันนี้ถ้าเป็นไฟกระแสตรง (DC) จะยุ่งยากมาก

ประโยชน์ของการใช้ไฟฟ้ากระแสตรง

- ใช้ในการเดินไฟฟ้าเพื่อเคลือบโลหะต่างๆ
- ใช้ในการทดลองในการเรียนการสอน หรือค้นคว้าวิจัยทางเคมี
- มีความสามารถในการตัดวัสดุที่เป็นโลหะและเชื่อมโลหะได้เป็นอย่างดี
- ใช้สำหรับทำประจุไฟฟ้าเพื่อนำเข้าแบตเตอรี่เพื่อนำไปใช้งานในชีวิตประจำวัน
- ใช้ในการต่อวงจรเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อให้ใช้งานได้
- ใช้สำหรับเป็นไฟฟ้าสำหรับนักเดินทาง
- มีศักยภาพทำให้เหล็กธรรมดามีอนุภาคแม่เหล็กเกิดขึ้น

ประโยชน์ของการใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ

- ใข้ร่วมกับแสงสว่างได้ดีกว่าไฟฟ้ากระแสตรง
- ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและสามารถผลิตได้เองไม่ยาก
- มีความสามารถใข้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังไฟฟ้ามากๆ
- ใช้งานกับเครื่องไฟฟ้าสำหรับเชื่อมวัสดุที่เป็นโลหะได้ดี
- สามารถใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ทุกชนิดในชีวิตประจำวัน

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ความแตกต่างของวงจรไฟ้าอนุกรม ขนาน และ แบบผสม

ความแตกต่างของวงจรไฟฟ้าอนุกรม ขนาน และ แบบผสม
     ระบบไฟฟ้าเป็นงานระบบที่มีความสำคัญมากในชีวิตประจำวัน เป็นระบบงานพื้นฐานที่เหล่าช่างติดตั้งงานระบบอื่นจำเป็นจะต้องมีความรู้ เพราะในบทความนี้จึงขอนำเสนอเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับเรื่องวงจรในระบบไฟฟ้า ว่าในการติดตั้งระบบไฟฟ้า มีรูปแบบการต่อวงจรไฟฟ้าแบบใดบ้าง และในแต่ละแบบมีข้อดีหรือคุณสมบัติพิเศษอย่างไรบ้าง
การต่อวงจรไฟฟ้า
     ตามปกติวงจรไฟฟ้าใด ๆ จะมีความเปลี่ยนแปลงและคุณสมบัติต่อกระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าแตกต่างกันไป ตามแต่ วิธีการต่อวงจรนั้น ๆ และตามการเปลี่ยนแปลงตัวต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้านั้นด้วย ซึ่งเรามีวิธีการต่อวงจรไฟฟ้าได้ 3 แบบ คือ
     1. การต่อแบบอนุกรม (Series Circuit) 
     2. การต่อแบบขนาน (Parallel Circuit) 
     3. การต่อแบบผสม (Compound Circuit)
1. วงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม หมายถึง การนำอุปกรณ์ไฟฟ้ามาต่อเรียงลำดับกันไป โดยนำปลายด้านใดด้านหนึ่งของอุปกรณ์ตัวที่หนึ่งมาต่อกับอุปกรณ์ตัวที่สอง จากนั้นนำปลายที่เหลือของอุปกรณ์ที่สอง ไปต่อกับอุปกรณ์ตัวที่สาม และต่อในลักษณะที่เรียงกันไปเรื่อย ๆ จนถึงอุปกรณ์ตัวสุดท้ายให้ต่อปลายที่เหลือเข้ากับแหล่งกำเนิดไฟฟ้าวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม
2. วงจรไฟฟ้าแบบขนาน หมายถึง การนำอุปกรณ์ไฟฟ้าตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมาต่อเรียงแบบขนานกัน โดยนำปลายด้านเดียวกันของอุปกรณ์แต่ละตัวมาต่อเข้าด้วยกัน แล้วต่อปลายของอุปกรณ์แต่ละตัวที่ต่อกันแล้วนั้นเข้ากับแหล่งกำเนิดไฟฟ้า
วงจรไฟฟ้าแบบขนาน
     จากตัวอย่างการต่อวงจรไฟฟ้าข้างต้น พบว่าหลอดไฟสองดวงที่เชื่อมต่อกันแบบขนานจะให้แสงสว่างรวมทุกหลอดมากกว่า เพราะกระแสไฟฟ้าในวงจรมีปริมาณมากกว่า และถ้าหลอดไฟหลอดใดหลอดหนึ่งชำรุด หลอดไฟที่เหลือก็ยังคงสามารถใช้งานได้ เนื่องจากยังคงมีตัวนำไฟฟ้าหรือสายไฟฟ้าที่สามารถนำกระแสไฟฟ้าให้ ไหลผ่านหลอดไฟดวงอื่นได้ครบวงจร แตกต่างจากการต่อหลอดไฟแบบอนุกรม ซึ่งหากมีหลอดไฟดวงใดดวงหนึ่งใช้งานไม่ได้ ก็จะทำให้หลอดไฟที่เหลือไม่สามารถใช้งานได้ทั้งหมด เนื่องจากกระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านวงจร เพราะมีตัวนำไฟฟ้าหรือสายไฟเส้นเดียวกัน
แบบอนุกรม อุปกรณ์ทุกตัวต่อทอดยาวเรียงกัน หากตัวใดตัวหนึ่งชำรุด อุปกรณ์ตัวอื่นไม่สามารถใช้งานได้
แบบขนาน อุปกรณ์ทุกตัวต่อแยกขนานกัน หากตัวใดตัวหนึ่งชำรุด อุปกรณ์ตัวอื่นยังสามารถใช้งานได้ปกติ
     นอกจากนี้การนำอุปกรณ์ไฟฟ้ามาต่อแบบอนุกรมและขนานแล้ว ก็ยังสามารถนำเซลล์ไฟฟ้ามาต่อแบบอนุกรมและขนานได้เช่นกัน การนำเซลล์ไฟฟ้ามาต่อกันแบบอนุกรมหรือต่อแบบขนานนั้น จะทำให้เรามองเซลล์ไฟฟ้าทั้งหมดรวมกันเป็นแหล่งจ่ายพลังงานแหล่งหนึ่งได้
     การนำเซลล์ไฟฟ้ามาต่อกันแบบขนาน แรงดันไฟฟ้าจะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าเพียงเซลล์เดียว แต่จะทำให้จ่ายไฟฟ้าได้มากหรือจ่ายได้นานกว่าการใช้เซลล์ไฟฟ้าเพียงเซลล์เดียว
     ส่วนการนำเซลล์ไฟฟ้ามาต่อกันแบบอนุกรมนั้น จะทำให้พลังงานหรือแรงดันไฟฟ้ารวม หาได้จากผลรวมของแรงดันไฟฟ้าแต่ละเซลล์ เมื่อแรงดันมากขึ้นจะทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรมีค่ามากขึ้น
การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม
     ดังนั้นหากนำเซลล์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าแต่ละเซลล์เท่ากันมาต่อกันแบบอนุกรม จะทำให้ได้ผลรวมของแรงดันไฟฟ้ามากกว่าการต่อแบบขนาน หรือหากต่อในวงจรไฟฟ้าของหลอดไฟ ก็จะทำให้หลอดไฟของวงจรที่ต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรมสว่างมากกว่าวงจรที่ต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบขนานนั่นเอง
     สรุปได้ว่า การต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมกับขนานนั้น มีข้อดี – ข้อเสียแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน หรือบางครั้งต้องต่อวงจรแบบผสม คือมีทั้งแบบอนุกรมและขนาน
การต่อแบบผสม (Compound Circuit)
วงจรไฟฟ้าแบบผสม
     การต่อแบบผสม คือ การต่อวงจรทั้งแบบอนุกรมและแบบขนานเข้าไปในวงจรเดียว การต่อแบบนี้ โดยทั่วไปไม่นิยมใช้กัน เพราะเกิดความยุ่งยาก จะใช้กันแต่ในทางด้านอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ตัวต้านทานตัวหนึ่ง ต่ออนุกรมกับตัวต้านทานอีกตัวหนึ่ง แล้วนำตัวต้านทานทั้งสองไปต่อขนานกับตัวต้านทานอีกชุดหนึ่ง ดังในรูป 
     จะสังเกตเห็นได้ว่าลักษณะการต่อวงจรแบบผสมนี้เป็นการนำเอาวงจรอนุกรมกับขนานมารวมกัน และสามารถประยุกต์เป็นรูปแบบอื่น ๆ ได้ ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานให้เหมาะสม เพราะการต่อแบบผสมนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว เป็นการต่อเพื่อนำค่าที่ได้ไปใช้กับงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น