วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ประโยชน์ของ Firewall


เชื่อว่าหลายๆ คนที่ใช้คอมพิวเตอร์อาจเคยได้ยินคำว่า "Firewall" กันมาบ้างแล้ว แต่ว่าเรามักไม่ได้ให้ความสำคัญกับมันมากนัก แต่รู้กันหรือไม่ว่า? Firewall สามารถป้องอันตรายจากโลกไซเบอร์โดยเฉพาะเหล่า Hacker ที่มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นในทุกๆ วัน ดังนั้นในบทความนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปทำความรู้จักกับ Firewall ให้มากขึ้น เพื่อเรียนรู้การป้องกันภัยจากโลกไซเบอร์ที่ใกล้ตัวเรากัน

Firewall คืออะไร?
ภายนอกแล้ว Firewall คือฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่ถูกใช้เพื่อป้องกันการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาตที่เข้ามายังเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของคุณ

พวกมันสามารถถูกนำมาใช้ทั้งสำหรับรายบุคคลและธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อคัดกรองข้อมูลเข้าและออกคอมพิวเตอร์ของคุณผ่านทางอินเตอร์เน็ต หากตัวกรอก Firewall ตรวจพบอะไรก็ตามที่น่าสงสัย มันจะปฏิเสธสิ่งนั้นไม่ให้เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของคุณและเครือข่ายส่วนตัว

Firewall ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับหยุดปริมาณการเข้าชมที่อันตรายหรือฉ้อโกงไม่ให้เข้าถึงเครือข่ายของคุณได้ พวกมันจะปิดกั้นโปรแกรมเฉพาะจากการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตหากกิจกรรมนั้นๆ ดูมีความเสี่ยงมากเกินไป

ในทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องการ Firewall เพื่อป้องกันข้อมูลความลับ แต่คำถามก็คือ Firewall เพียงอย่างเดียวก็มากเพียงพอที่จะป้องกันพีซีของคุณหรือเปล่า


Firewall สามารถป้องกันอะไรได้บ้าง?
Firewall ป้องกันเหล่าอาชญากรทางไซเบอร์ไม่ให้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ ปัญหาดังกล่าวนี้รวมถึงแต่ไม่จำกัด:

- การเข้าถึงประตูหลัง: ประตูหลังหมายถึงช่องโหว่ความปลอดภัยหรือข้อผิดพลาดที่เมื่อเกิดการหาผลประโยชน์ขึ้น มันจะอนุญาตให้ควบคุมโปรแกรมได้โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้กระทั่งระบบปฏิบัติการทั้งหมดอย่าง Windows ก็มีประตูหลังและแฮ็กเกอร์ที่มีประสบการณ์ก็รู้วิธีหาผลประโยชน์จากมัน

- การลักลอบเข้าสู่ระบบจากระยะไกล: เดสก์ท็อประยะไกลอนุญาตให้คุณเชื่อมต่อและควบคุมคอมพิวเตอร์ของคุณได้จากที่อื่นผ่านทางอินเตอร์เน็ต อย่างไรก็ตามแฮ็กเกอร์สามารถโจรกรรมการเข้าสู่ระบบ เข้าถึงอุปกรณ์และขโมยไฟล์ของคุณ

- การละเมิดทางอีเมล: การโจมตีประเภทนี้พุ่งเป้าไปที่รายบุคคลซึ่งผู้กระทำผิดจะส่งอีเมลนับพันทำให้กล่องจดหมายขาเข้าของเหยื่อตัน อีเมลสแปมก็เป็นที่นิยมและในขณะที่มันส่วนใหญ่จะสร้างความรำคาญให้ แต่บางอีเมลสแปมนั้นก็อาจมีไวรัสและมัลแวร์

- เส้นทางแหล่งที่มา: เมื่อแพ็กเกตข้อมูลเดินทางผ่านเครือข่ายออนไลน์ โดยปกติแล้วพวกมันจะต้อง ?ผ่านไปตาม? เส้นทางมากมายก่อนที่จะมาถึงจุดหมายปลายทาง แฮ็กเกอร์บางรายใช้ประโยชน์ของระบบนี้โดยการสร้างแพ็กข้อมูลที่น่าสงสัยที่ดูเหมือนว่ามาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ Firewall มากมายปิดใช้งานเส้นทางแหล่งที่มาด้วยเหตุผลนี้

ประโยชน์อื่นๆ ของการใช้ Firewall?
บางครั้งโปรแกรม Firewall ถูกนำมาใช้ในฐานะเซิร์ฟเวอร์พร็อกซี่ เมื่อใดก็ตามที่คุณเข้าถึงเว็บเพจ เซิร์ฟเวอร์พร็อกซี่จะได้รับข้อมูลก่อนที่จะส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์ของคุณ การตั้งค่านี้มีประโยชน์สองสามประการ ได้แก่:

- เซิร์ฟเวอร์ที่รับเว็บเพจไว้จะไม่โต้ตอบกับอุปกรณ์ของคุณโดยตรงซึ่งช่วยลดโอกาสหน้าเว็บอันตรายในการส่งไวรัสมาติดคอมพิวเตอร์ของคุณ

- ที่อยู่เครือข่ายออนไลน์ของคอมพิวเตอร์คุณจะถูกปิดบังเอาไว้

- เวอร์ชั่นของเว็บเพจจะถูกบันทึกไว้ในความจำแคชของเซิร์ฟเวอร์พร็อกซี่ซึ่งช่วยให้สามารถโหลดได้เร็วขึ้นเมื่อคุณกลับมาเยี่ยมชมหน้านี้อีกครั้งในอนาคต

นอกจากทำหน้าที่ในฐานะเซิร์ฟเวอร์พร็อซี่แล้ว Firewallบางครั้งก็มี DMZ (Demilitarized Zone หรือโซนที่ปลอดภัย) หรือเครือข่ายในขอบเขตที่มีไฟล์ที่มีความเสี่ยงต่ำและไคลเอนต์ที่อยู่นอก Firewall หลัก เนื่องจากฟีเจอร์นี้มักถูกใช้งานโดยบริษัทซะส่วนใหญ่ ดังนั้นผู้ใช้รายบุคคลจึงแทบไม่ต้องกังวลอะไรเกี่ยวกับมันเลย

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

แบบจำลองเครือข่าย OSI Model


OSI Model (Open Systems Interconnection Model) คือ รูปแบบความคิดที่พรรณาถึงคุณสมบัติพิเศษและมาตรฐานการทำงานภายในของระบบการสื่อสาร โดยการแบ่งการทำงานของระบบอินเทอร์เน็ตเป็นชั้นต่างๆ เพื่อให้การทำงานของระบบการสื่อสารนั้นเป็นไปอย่างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น OSI Model นั้นถูกออกแบบมาโดยองค์กร ISO (International Organization for Standardization) เพื่อเป็นมาตรฐานในการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลและคอมพิวเตอร์ เนื่องจากได้มีการแบ่งส่วนการทำงานต่างๆ ทำให้เข้าไปจัดการในส่วนของ Layers ชั้นต่างๆ ได้ถูกต้อง ซึ่ง Layers นั้นได้แบ่งทั้งหมด 7 Layers ซึ่งแต่ละ Layers ก็มีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันไป ดังนี้

Application Layer (แอพพลิเคชัน เลเยอร์) เป็น Layer ชั้นที่ 7 ซึ่งเป็นชั้นที่อยู่ใกล้ผู้ใช้งานมากที่สุด โดยเป็นแอพพลิเคชันของ OSI มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ใช้ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชัน คอยรับส่งข้อมูลโดยตรงกับผู้ใช้และกำหนดกติกาอัลกอลิทึมว่าเป็นอย่างไร ให้ทำงานเรื่องอะไร

Presentation Layer (พรีเซนเท'เชิน) เป็น Layer ชั้นที่ 6 เป็นชั้นที่รับผิดชอบเรื่องรูปแบบของการแสดงผลเพื่อให้โปรแกรมทราบว่าข้อมูลที่ส่งมาผ่านเครือข่ายนั้น เป็นข้อมูลประเภทใด ซึ่งชั้นนี้ได้มีการเข้ารหัสเพื่อป้องกันการดักจับข้อมูลของผู้อื่น และให้ตัวเครื่องนั้นรับรู้ได้ว่ามีการส่งข้อมูลไปหา

Session Layer (เซสชัน เลเยอร์) เป็น Layer ชั้นที่ 5 เป็นชั้นที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเซสชั่นของโปรแกรม ซึ่งเซสชั่นจะช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารของเว็บไซต์นั้นสามารถสื่อสารกันได้หลายหน้าต่าง จึงเป็นตัวที่คอยรับส่งข้อมูลไปยังเว็บไซต์ในหลายๆ หน้าต่าง

Transport Layer (แทรนซพอร์ท') เป็น Layer ชั้นที่ 4 เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ดูแลการจัดการเรื่องของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ซึ่งการตรวจสอบความผิดพลาดนั้นจะพิจารณาจากข้อมูลที่เรียกว่า checksum และอาจจะมีการแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ โดยพิจารณาจากฝั่งต้นทางกับปลายทาง

Network Layer (เน็ตเวิรค เลเยอร์) เป็น Layer ชั้นที่ 3 เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่จะรับ – ส่ง ข้อมูลไปยังเส้นทางที่สะดวก มีระยะสั้น และรวดเร็วที่สุด เพื่อให้ผู้รับข้อมูลสามารถรับข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

Data Link Layer (ดาต้า ลิงค์ เลเยอร์) เป็น Layer ชั้นที่ 2 เป็นชั้นที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนผู้ตรวจสอบ หรือควบคุมความผิดพลาดในข้อมูล โดยจะแบ่งการส่งข้อมูลที่ออกเป็นแพ็กเกจหรือเฟรม ถ้าผู้ได้รับข้อมูลถูกต้องก็จะส่งสัญญาณยืนยันกลับมาว่า ได้รับข้อมูลแล้ว เรียกว่า สัญญาณ ACK ให้กับผู้ส่ง แต่ถ้าผู้ส่งไม่ได้รับสัญญาณ ACK หรือได้รับสัญญาณ NAK กลับมา ผู้ส่งก็อาจจะทำการส่งข้อมูลไปให้ใหม่

Physical Layer (ฟิสซิเคิล เลเยอร์) เป็น Layer ชั้นที่ 1 หรือเป็น Layer ชั้นล่างสุด ซึ่งทำหน้าที่รับส่งข้อมูลจากช่องทางการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ชั้นนี้จะกำหนดว่าแต่ละคอนเนคเตอร์ เช่น RS-232-C มีกี่พิน แต่ละพินทำหน้าที่อะไรบ้าง ใช้สัญญาณไฟกี่โวลด์ เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่างๆ ก็จะถูกกำหนดอยู่ในเลเยอร์ชั้นนี้ ซึ่งจะเป็นทั้งแบบที่ใช้สายหรือไม่ใช้สาย


ดังนั้นจะเห็นได้ว่า 7 Layers ของระบบอินเทอร์เน็ตก็ได้มีหน้าที่ที่แตกต่างกันไป ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้การติดต่อสื่อสารหรือการรับส่งข้อมูลต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตเป็นไปได้อย่างถูกต้อง ลดความผิดพลาดในการรับส่งต่างๆ และหากมีปัญหาตรงจุดใด ก็สามารถเข้าไปแก้ไขได้ง่ายและทำให้เราทราบปัญหาได้ง่ายขึ้นด้วยว่ามีปัญหามาจากจุดใด เนื่องจากได้มีการแบ่งการทำงานของอินเทอร์เน็ตออกเป็นชั้นต่างๆ แล้ว

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

Thermometer กับ Thermal Imager


หลังจากสถานการณ์ COVID-19 ได้ทุเลาลงแล้ว ทำให้มีสถานที่และกิจการหลายๆ แห่งเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง แต่ว่าไวรัสก็ยังไม่ได้หายไปหมด ดังนั้นกิจการหลายๆ แห่ง จึงต้องมีการจัดเตรียมมาตราการป้องกันและเฝ้าระวังไวรัสโควิค 19 นี้อย่างต่อเนื่อง และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเฝ้าระวังไวรัสโควิค 19 นั้นก็คือ "เครื่องวัดอุณหภูมิ" ซึ่งเครื่องวัดอุณหภูมิที่ใช้กันนั้นจะมีด้วยกันอยู่ 2 ประเภท คือ Thermometer Infrared กับ Thermal Imager และในบทความนี้ จะมาบอกข้อดีและข้อเสียของเครื่องวัดอุณหภูมิทั้ง 2 ประเภท เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ในการเลือกซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิแก่ธุรกิจของทุกๆ ท่าน

Thermometer Infrared หรือที่เราเรียกกันว่า "ปืนวัดอุณหภูมิ" เป็นที่นิยมใช้งานกันมากที่สุดเพราะมีขนาดเครื่องเล็กกระทัดรัด พกพาง่าย เครื่องวัดอุณหภูมิโดยการเล็งเครื่องวัดให้ตรงไปยังวัตถุหรือสิ่งที่ต้องการวัด และเมื่อกดปุ่มยิงเครื่องก็จะทำการวัดอุณหภูมิ แล้วแสดงผลค่าอุณหภูมิที่วัดได้ขึ้นมาบนหน้าจอ การวัดอุณหภูมิด้วยวิธีนี้มีความแม่นยำสูง แต่ว่าในการวัดอุณหภูมิต้องเว้นระยะห่างในการวัดอย่างน้อย 10-15 เซนติเมตร และเครื่องสามารถวัดอุณหภูมิได้เพียงแค่ครั้งละ 1 คน

Thermal Imager เป็นเครื่องวัดอุณหภูมิในรูปแบบ ?กล้องถ่ายภาพความร้อน? โดยกล้องจะเป็นกล้องแบบพิเศษสามาถแสดงผลภาพแบบการแผ่รังสีความร้อน เซ็นเซอร์ของเครื่องจะจับและวัดค่าอุณหภูมิจากภาพของกล้อง โดยจะจับเฉพาะจุดที่มีความร้อนสูงที่สุด และนำค่าที่จับได้แสดงผลออกมา ข้อดีของเครื่องวัดตัวนี้คือไม่ต้องใช้คนในการวัด เพียงแค่ตั้งเครื่องก็สามารถใช้งานได้เลย และมีระยะห่างในการวัดอุณหภูมิมากกว่าปืนวัดอุณหภูมิ เครื่องบางรุ่นมีฟังก์ชั่นร้องแจ้งเตือนอัตโนมัติและบันทึกที่จับอุณหภูมิสูงได้ด้วย

สรุปข้อดี-ข้อเสีย Thermometer Infrared
-  ความแม่นยำในการวัดอุณหภูมิค่อนข้างสูง
-  ขนาดเล็กน้ำหนักเบาพกพาไปไหนได้สะดวก
-  ราคาถูกกว่าเครื่องวัดแบบกล้องวัดอุณหภูมิ
-  เหมาะกับการใช้งานในทุกสถานที่
-  วัดอุณหภูมิได้ทีละหนึ่งคนดังนั้นผู้รับการตรวจต้องรอคิว
-  ถ้าสถานที่ใดมีคนเข้าออกเป็นจำนวนมาก ก็ต้องใช้บุคลากรในการตรวจวัดอุณหภูมิมากเช่นกัน
-  ฟังก์ชั่นการตั้งค่าเครื่องวัดไม่ค่อยหลากหลาย
-  มีข้อจำกัดเรื่องระยะห่างในการวัดอุณหภูมิ

สรุปข้อดี-ข้อเสีย Thermal Imager
-  มีระยะห่างการวัดอุณหภูมิที่ไกลกว่า
-  ไม่ต้องต่อแถวรอคิวในการตรวจวัดอุณหภูมิ
-  ไม่จำเป็นต้องใช้คนมาคอยยิงวัดอุณหภูมิ
-  เหมาะกับการใช้งานในสถานที่ ที่มีคนเข้าออกจำนวนมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า, ร้านค้า, ร้านอาหาร, โรงหนัง, โรงพยาบาล, ฯลฯ
-  ความแม่นยำในการวัดอาจคลาดเคลื่อนกว่าเล็กน้อย
-  จุดทีตั้งเครื่องตรวจวัดต้องไม่มีวัตถุอื่นที่มีความร้อน เพราะอาจทำให้เซ็นเซอร์จับอุณหภูมิเฉพาะสิ่งนั้น
-  กล้องวัดอุณหภูมิมีราคาเริ่มต้นที่สูงกว่า และยิ่งมีฟังก์ชั่นมากราคาก็ยิ่งเพิ่ม

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ค่า LUX ของกล้องวงจรปิด คืออะไร



หลาย ๆ ท่านที่กำลังหาความรู้หรือหาข้อมูลก่อนที่จะติดตั้งกล้องวงจรปิด คงจะเคยเห็นคำว่า LUX ผ่านๆ ตากันมาบ้างแล้ว แต่บางท่านก็ยังไม่ทราบว่า LUX นี้คืออะไร เกี่ยวข้องกับกล้องวงจรปิดยังไง ขอบอกได้เลยครับว่า LUX หรือการกินแสงสว่างของกล้องวงจรปิดนั้น มีผลความไวแสง, สีของวัตถุต่างๆ หรือการมองเห็นในที่มืดได้

ค่า LUX คือค่าความสว่างแสง หรือการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์ มองเห็น ซึ่งกล้องวงจรปิดยิ่งมีค่า LUX ต่ำ ก็จะสามารถใช้งานในสถานที่ที่มีความสว่างน้อย ๆ หรือที่มืด ได้ดียิ่งขึ้น


ตารางแสดงค่าความสว่างโดยประมาณของค่า Lux

คำว่ากินแสงสว่าง 1 LUX ก็คือถ้าจะมองเห็นวัตถุในตอนกลางคืน หรือที่มีแสงน้อยๆ จะต้องมีแสง อย่างน้อย 1 LUX ถึงจะมองเห็นภาพได้ดี ดังนั้นจะเห็นว่ากล้องวงจรปิดรุ่นไหนที่มีค่า LUX ต่ำๆ เช่น 0.1 LUX ก็จะทำให้เราสามารถเห็นภาพที่มีรายละเอียดชัดเจน ในที่มืดหรือแสงน้อยๆ

ดังนั้นแสงภายในอาคารหากไม่ได้เปิดไฟค่า Lux 0 กล้อง Day/Night บางรุ่นจะรับภาพไม่ได้ หรือรับได้ไม่ดี ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนมาใช้กล้องอินฟาเรดแทน

เทคโนโลยี Ultra-Low Light
เทคโนโลยี Ultra-Low Light คือเทคโนโลยีที่ทำให้กล้องวงจรปิดสามารถมองเห็นสีได้ในที่มืด โดยกล้องวงจรปิดประเภทนี้จะมีค่า Lux ที่ต่ำอยู่ที่ 0.1 หรือระดับกลางคืนจันทร์เต็มดวง ทำให้กล้องมีความคมชัดที่สูง และมีความไวแสงมากพอที่จะประมวลผลออกมาเป็นภาพสีได้


ภาพเปรียบเทียบกล้องวงจรปิด Day/Night กับ Ultra-Low Light

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ประโยชน์ของ Ultra-Low Light ในกล้องวงจรปิด


เทคโนโลยี Ultra-Low Light เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้กล้องวงจรปิดสามารถจับภาพได้ดีที่สุด ในทุกสภาพแสงโดยเฉพาะในเวลากลางคืน ภาพกลางคืนที่ได้จากกล้องวงจรปิดโดยปกติจะเป็นภาพขาว-ดำ แต่ด้วยเทคโนโลยี Ultra-Low Light ทำให้แสดงผลภาพออกมาเป็นภาพสีได้ โดยอาศัยหลักการความไหวแสงของฟิลม์ ซึ่งแบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังต่อไปนี้

1. ฟิล์มความไวแสงต่ำ (Low Speed Film) เช่น ฟิล์ม 25 ASA - 50 ASA เหมาะถ่ายภาพทิวทัศน์ /ชายทะเล/หิมะขาวโพลนในแดดจ้า เหมาะกับภาพต้องการใช้ความเร็วชัตเตอร์ช้ามาก ๆ หรือเพื่อให้ได้ภาพที่มีการ เคลื่อนไหวลักษณะพร่ามัว โดยแสงไม่มากเกินไป

2. ฟิล์มไวแสงปานกลาง (Medium Speed Film) ไวแสงปานกลาง คือระหว่าง 64 ASA-160 ASA ใช้ถ่ายภาพแสงสว่างธรรมดา (มีขายตามท้องตลาด ทั่วไป) และถ่ายภาพวัตถุที่อยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหวช้า ๆ ใช้ถ่ายภาพ ทั่วไป (รู้จักกันทั่วไปคือ 100 ASA)

3. ฟิล์มความไวแสงสูง (High or Fast Speed Film) เป็นฟิล์มถ่ายภาพแสงน้อย เหมาะถ่ายภาพ ในอาคารและนอกอาคาร สามารถเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง ๆ ถ่ายภาพเคลื่อนไหวให้นิ่งสนิทได้ เช่น ภาพกีฬา จะอยู่ระหว่าง 160 ASA-400 ASA (ตามท้องตลาดจะมี 200 ASA) นอกจากนี้ ยังสามารถหรี่รูรับแสงให้แคบ ๆ เพื่อช่วยให้ภาพถ่ายมีช่วงระยะความคมชัดลึกมากขึ้น (depth of field)

4. ฟิล์มความไวแสงสูงพิเศษ (Ultra Fast Speed Film) เหมาะกับภาพที่แสงน้อย ๆ ถ่ายภาพในเวลา กลางคืนไม่ใช้แฟลช ต้องการแสดงรายละเอียดของวัตถุที่เคลื่อนที่เร็ว ๆ ให้หยุดนิ่ง โดยการใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงมาก ๆ หรือถ่ายภาพแสงเทียนในงานวันเกิด ฟิล์มมีความไวแสงระหว่าง 1000 ASA ถึง 2000 ASA หรือมากกว่าเป็นต้น

กล้องวงจรปิด Ultra-Low Light

เป็นกล้องวงจรปิดที่มีเซ็นเซอร์ความไวสูงพิเศษซึ่งสามารถบันทึกภาพในระดับแสงได้ถึง 0.01 ลักซ์ซึ่งแตกต่างจากกล้องวงจรปิดส่วนใหญ่ที่มีไว้สำหรับใช้ในเวลากลางคืน กล้องวงจรปิดนี้อาศัยเฉพาะเพียงเซ็นเซอร์เท่านั้น

กล้องวงจรปิดประเภทนี้มีความสามารถในการมองเห็นในที่มืด แตกต่างจากกล้องวงจรปิดส่วนใหญ่ที่มีไว้สำหรับใช้ในเวลากลางคืน กล้องวงจรปิดประเภทนี้อาศัยเฉพาะเซ็นเซอร์เท่านั้น มันไม่ส่องพื้นที่ด้วยแสง IR สิ่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในแอปพลิเคชันทางดาราศาสตร์ เนื่องจากอาจรบกวนภาพ เมื่อจำเป็นต้องทำงานที่ระดับแสงต่ำมากกล้องจะเปลี่ยนเป็นการทำงานแบบโมโน


เปรียบเทียบภาพกล้องวงจรปิดแบบธรรมดากับกล้องวงจรปิดแบบ Ultra-Low-Light