วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2563

P.CCTV Network Engineering | EP.02 | รีวิวชุดกล้องวงจรปิด Analog HD จาก HiLook


ชุดกล้องวงจรปิด Analog HD จากแบรนด์ HiLook กล้องวงจรปิดความละเอียด 2MP พร้อมเครื่องบันทึก, ฮาร์ดดิกส์ และอุปกรณ์อื่นๆ อีกมากมาย มีบริการติดตั้งระบบให้กับลูกค้า และฟรีบริการ On-Site Service 1 ปี หรือ 2 ครั้ง ระบบกล้องสามารถดูออนไลน์ผ่านมือถือได้ทั่วโลก ด้วยแอปพลิเคชัน HiLookVision

[อุปกรณ์ในชุดโปรโมชั่น]

- กล้องวงจรปิด 2MP รุ่น THC-B120-MC
- เครื่องบันทึกภาพ HiLook
HDD Seagate Skyhawk
- ชุดอุปกรณ์จ่ายไฟ Switching
- สายสัญญาณ RG6/AC Shield 95%
- ท่อ PVC สีขาว

[อุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในการติดตั้ง]

- หัว Jack BNC
- หัว Jack DC
- Flexible
- Box PVC
- ข้อต่อ
- ข้องอ
- แคล้มก้ามปู
- คอนเนคเตอร์

[รายละเอียดเพิ่มเติม]

- สามารถดูภาพย้อนหลังได้ประมาณ 20 วัน
- ดูกล้องออนไลน์ผ่านมือถือได้ด้วย HiLookVision
- บริการ On-Site Service ฟรี 1 ปี หรือ 2 ครั้ง
- กล้องวงจรปิดรับประกันสินค้า 2 ปี
- เครื่องบันทึกรับประกันสินค้า 2 ปี
- ฮาร์ดดิสก์รับประกันสินค้า 2 ปี
- การรับประกันอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่บริษัทฯ กำหนด

=================================== สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
------------------------------------------------------------- เบอร์โทร : 092-265-0549 (คุณรัฐวัชร์) เบอร์โทร : 093-140-8539 (คุณขนิษฐา) เว็บไซต์ : www.pi-tech.biz E-mail : sale.pcctv@gmail.com ===================================

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2563

PoE - Power over Ethernet

  



หลายคนอาจเคยได้ยินหรือคุ้นเคยกับคำว่า PoE กันมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะบุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค เรามักจะได้ยินหรือเห็นคำนี้บ่อยๆ เวลาที่ต้องเลือกซื้อ Switch, Hub หรือ Access Point เป็นต้น แต่เคยสงสัยกันไหมว่า PoE คืออะไร สามรถทำอะไรได้บ้าง ดังนั้นในบทความนี้จึงเราจะมาอธิบายเกี่ยวกับเทคโนโลยี PoE ให้ทราบกัน

PoE คืออะไร
PoE เป็นคำย่อมาจากคำเต็มว่า Power Over Ethernet เป็นการใช้จ่ายกระแสไฟฟ้า บนสายแลนเส้นเดียวกัน โดยมีหลักการคือ ปกติสายแลน จะมีสายทองแดงทั้งหมด 4 คู่ หรือแปดเส้น และทั่วไปก็ทำงานบนเครือข่าย ก็จะใช้สายทองแดงเพียง 2 คู่ หรือ 4 เส้น ดังน้้นในส่วนที่เหลือ ก็จะถูกนำมาใช้สำหรับการจ่ายกระแสไฟฟ้า ซึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดคือ การประหยัดค่าเดินสายไฟ

โดยเฉพาะกับอุปกรณ์เครือข่ายไร้สายอย่าง Access Point (AP) เรียกได้ว่า PoE เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดอุปกรณ์ ลดเวลาในการเดินสาย และสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างนี้สิที่เป็นเทคโนโลยีที่ลดการใช้ทรพัยากรได้อย่างแท้จริง

จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี PoE
เทคโนโลยี PoE เริ่มใช้จริงจังตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมาหลังจาก IEEE ออกมาตรฐาน IEEE 802.3af มา ซึ่ง PoE ในเวอร์ชั่นแรกนี้สามารถจ่ายไฟได้สูงสุด 15.4 W ต่อสายแลน 1 เส้น แล้วก็พัฒนาต่อมาเป็น PoE+ หรือ IEEE 802.3at ที่จ่ายไฟได้ 30 W ในปี 2009 และมาตรฐานล่าสุดที่กำลังจะออกในปี 2018 นี้คือ IEEE 802.3bt ที่สามารถจ่ายไฟได้สูงสุด 100 W ทำให้ในปัจจุบันเราสามารถเปิดคอมได้ทั้งเครื่องด้วยไฟจากสายแลนเส้นเดียว และคาดว่าในอนาคตอาจจะอุปกรณ์ที่รองรับเทคโนโลยี PoE นี้มากยิ่งขึ้น

PoE กับ กล้องวงจรปิด
เทคโนโลยี PoE มีบทบาทสำคัญอย่างมากสำหรับระบบกล้องวงจรปิด โดยเฉพาะระบบกล้องวงจรปิดแบบ Digital หรือ IP Camera เพราะว่าในการติดตั้งระบบนั้น เราไม่จำเป็นต้องเดินสายไฟเพิ่มเข้ามา ช่วยให้ประหยัดต้นทุนในการเดินสายไฟ นอกจากนี้การดูแลรักษานั้นทำได้ง่ายมากขึ้น การตรวจเช็คสัญญาณก็จะทำได้ง่าย เพราะระบบเน็ตเวิร์คจะมีอุปกรณ์ตรวจเช็คสายสัญญาณ สามารถเช็คได้ว่าสัญญาณขาดช่วงไหน ทำให้ง่ายกว่าการตรวจสอบว่าสายไฟขาดช่วงไหน เพราะหากเป็นสายไฟ ก็จะต้องทำการเดินไล่สายตลอดแนว บางครั้งตัวสายสัญญาณมีการฝั่ง ขุด หรือ ดึงลอยตามเสาไฟฟ้า ทำให้การตรวจสอบนั้นทำได้ยากเป็นอย่างมาก ต่างจากระบบเน็ตเวิร์คที่ทำได้ง่ายกว่า และข้อดีอีกอย่างนั้นก็คือ มีความปลอดภัยสูง เพราะเป็นการจ่ายไฟแบบชนิด DC เป็นกระแสไฟที่ไม่สูง ทำให้ผู้ที่สัมผัสโดยไม่มีการช็อต หรือถึงแก่ชีวิตเหมือนการใช้ไฟแบบ 220V การเลือกใช้ PoE จึงได้รับความนิยมสูงในการนำมาใช้งานกับกล้องวงจรปิดในปัจจุบันนี้

สรุปข้อดีข้อเสียของการใช้ POE

ข้อดี
- ประหยัดค่าเดินสาย
- ประหยัดอุปกรณ์เพิ่มเติม กรณีต้องการเชื่อมต่อ UPS โดยเฉพาะปลั๊ก
- ประหยัดพื้นที่ กรณีมีการติดตั้งอุปกรณ์จำนวนมาก
- ประหยัดเวลาในการติดตั้ง เพราะสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว
- ดูแลได้ง่ายกว่า- มีความปลอดภัยสูง และใช้งานน้อยกว่า

ข้อเสีย
- อุปกรณ์ที่รองรับ PoE จะมีราคาสูงกว่าอุปกรณ์อื่นๆ ที่เป็นประเภทเดียวกัน

 

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2563

P.CCTV Network Engineering | EP.01 | ชุดโปรโมชั่นกล้องวงจรปิดสุดคุ้ม


โปรโมชั่นชุดติดตั้งกล้องวงจรปิดสุดคุ้ม

ชุดติดตั้งกล้องวงจรปิดจาก HiLook, Hikvision และ Dahua มีกล้องหลากหลายแบบให้เลือก ทั้งกล้องระบบ Analog และ IP Camera ในราคาพิเศษ พร้อมกับอุปกรณ์อื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เครื่องบันทึก, ฮาร์ดดิสก์, Switching และ ฯลฯ ไม่เพียงเท่านั้นเรายังมีบริการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดและบริการ On-Site Service ฟรีให้แก่ลูกค้าอีกด้วย HiLook กล้องวงจรปิด Analog HD - ชุดกล้อง 4 ตัว ราคา 12,900 บาท - ชุดกล้อง 8 ตัว ราคา 24,900 บาท Hikvision กล้องวงจรปิดมีไมค์ในตัว - ชุดกล้อง 4 ตัว ราคา 13,900 บาท - ชุดกล้อง 8 ตัว ราคา 26,900 บาท Hikvision กล้องวงจรปิด Ultra-Low Light - ชุดกล้อง 4 ตัว ราคา 14,900 บาท - ชุดกล้อง 8 ตัว ราคา 28,900 บาท Dahua กล้องวงจรปิด Microphone & Full Color - ชุดกล้อง 4 ตัว ราคา 15,900 บาท - ชุดกล้อง 8 ตัว ราคา 29,900 บาท HiLook กล้องวงจรปิด IP Camera มีไมค์ - ชุดกล้อง 4 ตัว ราคา 15,900 บาท - ชุดกล้อง 8 ตัว ราคา 27,900 บาท รับประกันความพึงพอใจทั้งสินค้าและงานบริการ บริการ On-Site Service ฟรี 1 เดือน หรือ 2 ครั้ง ให้คำปรึกษาฟรีตลอดอายุการใช้งาน * เงื่อนไขการรับประกันเป็นไปตามที่บริษัทฯ ที่กำหนด =================================== สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ =================================== เบอร์โทร : 092-265-0549 (คุณรัฐวัชร์) เบอร์โทร : 093-140-8539 (คุณขนิษฐา) เว็บไซต์ : www.pi-tech.biz E-mail : sale.pcctv@gmail.com =================================== #กล้องวงจรปิด #ชุดติดตั้งกล้องวงจรปิด #โปรโมชั่นกล้องวงจรปิด #ชุดกล้องวงจรปิด #ชุดกล้อง4ตัว #ชุดกล้อง8ตัว #กล้องมีไมค์ #กล้องมีสีกลางคืน #กล้องIP #ระบบกล้องวงจรปิด #ติดตั้งกล้องวงจรปิด #บริการติดตั้งกล้อง #hilook #hikvision #dahua

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563

Telnet คืออะไร


จากชื่อหัวข้อบทความอาจจะคล้ายกับชื่อหนังเรื่องดังเรื่องหนึ่ง แต่ว่านี่ไม่ใช่บทความสปอยหนังแต่อย่างใด Telnet ที่เรากำลังจะพูดถึงกันในบทความนี้คือ บริการทางอินเทอร์เน็ตรูปแบบหนึ่งของระบบเครือข่าย ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่า Telnet สามารถทำอะไรได้บ้าง และมีประโยชน์อย่างไร

Telnet คืออะไร
Telnet คือบริการที่เป็นการขอเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากระยะไกล ผู้ใช้นั้นสามารถขอเข้าใช้ได้ขอแค่ติดต่อเครือข่ายที่ได้รับอนุญาต โดยไม่จำเป็นว่าต้องนั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น การขอใช้นั้น ผู้ใช้จะป้อนคำสั่งที่เครื่องของตัวเองไปยังเครื่องที่เราขอเข้าใช้ แล้วผลก็จะกลับมาแสดงที่หน้าจอเรา เทลเน็ตเป็นชื่อของโพรโทคอลที่ใช้ในการจำลองเทอร์มินัลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นโพรโทคอลในชุด TCP/IP และเทลเน็ตก็เป็นชื่อของโปรแกรมที่ให้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์จากระยะไกลได้ ถ้าเราได้รับอนุญาตจากเจ้าของเครื่อง เป็นที่นิยมใช้งานกันอย่างในกลุ่มของผู้ดูแลระบบเครือข่ายในองค์กร เพราะสามารถควบคุมเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้จากระยะไกล โดยไม่จำเป็นต้องไปที่เครื่อง

หลักการทำงานของTelnet
คุณสมบัติที่สำคัญอันหนึ่งของอินเตอร์เน็ตก็คือการยอมให้คุณเข้าไปใช้บริการของคอมพิวเตอร์ที่ใด ๆ ในโลกก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นจากที่บ้านหรือที่ทำงานของคุณ โดยคุณสามารถล็อกอินเข้าไปในคอมพิวเตอร์อื่น และป้อนคำสั่งต่าง ๆ เข้าไปได้เหมือนกับว่าคุณนั่งอยู่หน้าคีย์บอร์ดนั้น แล้วเข้าไปใช้บริการทั้งหมดบนคอมพิวเตอร์นั้ได้บริการอินเตอร์เน็ตอย่างนี้เรียกว่า Telnet ซึ่งจะทำงานในรูปแบบ client/server อีกเช่นกัน ซึ่งหมายความว่าคุณต้องรันซอฟต์แวร์ที่พีซีของคุณเป็น client เพื่อจะใช้บริการบนคอมพิวเตอร์อื่นที่เป็นเซิร์ฟเวอร์หรือโฮสต์ได้ โฮสต์จะยอมให้ client หลาย ๆ ตัวติดต่อเข้าใช้บริการได้พร้อม ๆ กัน ไม่ได้จำกัดแค่ผู้ใช้คนใดคนหนึ่งเท่านั้น แต่ในการที่จะใช้ Telnet และบริการต่าง ๆ ของโฮสต์ได้นั้น คุณจะต้องรู้อินเตอร์เน็ตแอดเดรสของโฮสต์ซึ่งมีบริการที่ต้องการใช้นั้นด้วย

แต่ในปัจจุบันการใช้โปรแกรมนี้เริ่มลดลง เพราะมีจุดบกพร่องเรื่องความปลอดภัย ถ้าผู้ไม่หวังดีนำโปรแกรมประเภท Sniffer ไปประมวลผลในเครือข่าย จะสามารถเห็นทุกตัวอักษรที่พิมพ์ และส่งออกไปจากคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผู้เขียนทดสอบแล้วเห็นข้อมูลมากมายที่ส่งจากคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง แม้แต่รหัสผ่าน หรือเนื้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ วิธีแก้ไขคือใช้โปรแกรม SSH (Secure Shell) ซึ่งเข้ารหัสข้อมูลก่อนส่ง ทำให้ผู้ลักลอบไม่สามารถเห็นข้อมูลที่แท้จริง

วิธีใช้งาน Telnet บนระบบปฏิบัติการ Windows
ใน Windows เวอร์ชั่นปัจจุบันจะไม่ได้มีการให้ใช้ Telnet ตั้งแต่แรก ถ้าอยากใช้เราต้องไปที่ Control Panel > Programs แล้วเลือก Turn Windows Features on or off ให้เปิดใช้งาน Telnet Client ก็จะสามารถใช้งาน Telnet ได้


วิธีใช้งาน Telnet ให้เปิด Command Prompt ขึ้นมาที่ฝั่ง Client พิมพ์telnet ตามด้วยชื่อชื่อ Server หรือ IP และหมายเลขพอร์ตต่อท้ายตัวอย่างเช่น telnet com1 8090 หรือ telnet 192.178.345.66 8090หลังพิมพ์ Command แล้วกด Enter ถ้าหน้า Command Prompt กลายเป็นหน้ามืดซึ่งหมายความว่าสามารถติดต่อได้

แต่ถ้า Fails ดังรูปก็แสดงว่าติดต่อไม่ได้ด้วยสาเหตุเช่นไม่มียอมให้ใช้พอร์ตนั้นในFirewall ของระบบเครือข่าย
หรือติด Firewall ของ Client เป็นต้น

เมื่อติดต่อกับเครื่อง Server ได้แล้วหากมีการตั้งรหัสไว้ จะมีข้อความให้ผู้ใช้ Login และใส่ Password เมื่อใส่ถูกต้องก็จะเข้าไปอยู่ในระบบและทำงานได้ตามต้องการ ซึ่งการทำงานส่วนใหญ่ที่ใช้โปรแกรม TELNET เช่น สั่งให้คอมไพล์โปรแกรม , สั่งให้รันโปรแกรมบนเครื่อง Server , ตรวจสอบ mail หรือตรวจสอบผู้ใช้ (User) ที่ใช้งานบนเครื่อง Server อยู่ในขณะนั้น เป็นต้น นอกจากข้อดีอีกอย่างของ Telnet ก็คือเราสามารถตรวจเช็ค Service Port ได้ว่าเปิดอยู่หรือเปล่า จากการขอใช้บริการ Telnet

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563

STP - Spanning Tree Protocol

 

การเกิด Loop ในระบบเครือข่ายนั้นเป็นปัญหาร้ายแรงอย่างมาก เพราะจะทำให้การรับส่งข้อมูลนั้นมีปัญหาและทำให้ระบบไม่สามารถสื่อสารกันได้ดังนั้นในการติดตั้งระบบเครือข่าย ผู้ติดตั้งระบบจำเป็นต้องมีทักษะและวิธีการรับแก้ไขปัญหาการเกิด Loop ในระบบเครือข่ายนี้ และวิธีที่นิยมใช้ในการแก้ไขปัญหานี้ก็คือการทำ Spanning Tree ในระบบเครือข่าย ฉะนั้นในบทความนี้เราจะพามารู้จักกับการทำงานของ Spanning Tree หรือ โปรโตคอล STP กัน

รู้จักปัญหา Loop กันก่อนLoop คือ สถานะที่อุปกรณ์ส่งข้อมูลออกไปบนระบบ แล้วเกิดการวนแบบไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อมีการต่อใช้งานระบบเครือข่ายผ่าน Switch โดยมีเส้นทางเดียวจากต้นทางไปยังปลายทาง  ถ้า Link ระหว่าง Switch ทั้งสองตัวเกิดมีปัญหาขึ้นมา ก็ทำให้ระบบไม่สามารถใช้งานได้ เราจึงต้องมีการเพิ่ม Switch ขึ้นมาอีกหนึ่งตัว เพื่อให้มีเส้นทางสำรอง เมื่อ Link ระหว่าง Switch เดิมมีปัญหา ระบบจะยังสามารถใช้งานต่อได้ โดยผ่านไปทาง Switch อีกตัว แต่ว่าเนื่องจาก Switch ทั้ง 3 ตัว ต่อกันแบบ Loop ทำให้ข้อมูลที่ส่งไป เกิดการส่งวนไปวนมาได้ แบบไม่มีที่สิ้นสุด โดยทางเทคนิคเราเรียกปัญหานี้ว่าการเกิด Bridge Loopซึ่งหลังจากการเกิด Bridege Loop มาแล้ว จะมีปัญหาหลักๆ อยู่ 3 อย่างตามมาในระบบเครือข่าย ดังต่อไปนี้

Broadcast Storm คือเมื่อเกิด Loop ขึ้น Broadcast Traffic จะถูกส่งต่อไปเรื่อยๆ แบบไม่สิ้นสุด เกิดเป็นพายุBroadcast (Broadcast Storm) ทำให้ CPU ของ Switch นั้นสูงขึ้นและทำงานไม่ได้ในที่สุด

Multiple Frame Transmissions คือเครื่องปลายทางได้รับข้อมูล (Frame) เข้ามาซ้ำ ทำให้เสียเวลาในการประมวลผล

MAC Database Instability คือ Switch ได้รับ MAC Address ของอุปกรณ์เดียวเข้ามาหลายทาง ทำให้ Switch เรียนรู้ MAC Address ที่ผิดพลาด

Spanning Tree Protocol คืออะไร
Spanning-Tree Protocol (STP) เป็น Protocol ที่ใช้ป้องกันลูป (Loop) ใน Layer 2 โดยการทำงานคือจะ Blocking Port เพื่อไม่ให้รับส่งข้อมูลจนกว่าเส้นทางหลักจะมีปัญหา และยังช่วยเสริมให้มีเส้นทางสำรอง เช่น สมมุติว่าเรามีจุดหมายปลายทางอยู่จุดหนึ่งแล้วเส้นทางนี้เกิดมีปัญหาทำให้ระบบใช้งานไม่ได้เลย ก็ทำให้ระบบทั้งหมดมีปัญหาไปด้วย ตัว Spanning Tree มันก็จะมีระบบช่วยป้องกันไม่ให้ระบบหยุดการทำงาน ถ้าเส้นทางหนึ่งมีปัญหาก็สามารถไปใช้เส้นทางอื่นได้ Redundancy ของ Spanning Tree มันทำให้ระบบมีเสถียรภาพ เพราะใช้ตลอดเวลาก็ไม่ Down ถึงแม้เส้นทางใดเส้นทางหนึ่งใช้ไม่ได้ก็ตาม Spanning tree ก็จะมีเส้นทางขึ้นมาใช้แทนโดยรวมทำให้มีเสถียรภาพมากขึ้นหากคุณกำลังสงสัยว่าทำไม Protocol ตัวนี้ถึงถูกนำมาใช้งานกับอุปกรณ์ Layer 2 นั้นก็เพราะว่าการเกิด Loop นั้นส่วนใหญ่จะเกิดมาจากอุปกรณ์ Layer 2 อย่าง Switch ในส่วนของอุปกรณ์ Layer 3 จะมี TTL(Time to Live) ไว้สำหรับป้องกันการเกิดลูปอยู่แล้ว

หลักการทำงานของ STP
หลักการเลือกเส้นทางการส่งข้อมูลของ Spanning Tree มีขั้นตอนการพิจารณาดังต่อไปนี้

1. เลือก Root Bridge คือใน 1 Network จะมี Switch เพียง 1 ตัวที่เป็น Root Bridge พิจารณาจาก Switch ที่มี Bridge ID น้อยที่สุด (Bridge ID = Priority + MAC Address) และขาของ Bridge ID เป็น Designated Port

2. เลือก Root Port พิจารณาจาก Port ที่มีค่า Path Cost ไปหา Root Bridge ต่ำสุดถ้า Path Cost เท่ากันให้พิจารณาจาก Bridge ID โดย Switch จะมี Root Port ได้เพียง 1 ตัวเท่านั้น

3. เลือก Design Port ใน Link ระหว่าง Switch กับ Switch หรือที่เรียกว่า Segment ต้องมี 1 Designated Port โดยพิจารณาจาก Path Cost ไป Root Bridge ต่ำสุด หากเท่ากันให้พิจารณาจาก Bridge ID ต่ำสุด ถ้า Bridge ID เท่ากัน ให้พิจารณาจาก Port ID ต่ำสุด และ port ที่เหลือจาก Root Port และ Designated Port คือ Block Port
ตัวอย่างการคำนวณ STP

หา Root Bridge พิจารณาจาก Bridge ID ที่ต่ำสุด คือ SW-A และกำหนด DP


หา Root Port พิจารณาจาก Path Cost ในที่นี้เป็น FastEthernet(100 Mbps) = 19 ให้พิจารณาแต่ละตัว

SW-C ไปยัง SW-A ผ่าน Fa 0/1 = 19,
SW-C ไปยัง SW-A ผ่าน Fa 0/2 และFa 0/24 = 38,
SW-B ไปยัง SW-A ผ่าน Fa 0/24 = 19,
SW-B ไปยัง SW-A ผ่าน  Fa 0/2 และFa 0/1 = 38

เราจะได้ Switch ที่มี Root Port ที่ SW-B ที่ Fa 0/24 และ SW-C ที่ Fa 0/1

หา Designated Port ในที่นี้จะมี Path Cost เท่ากัน ให้พิจารณาจาก Bridge ID และผลลัพธ์ที่ได้คือDesignated Port อยู่ที่ SW-B ที่ Fa 0/2 และ Block Port คือ SW-C ที่ Fa 0/2

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

MQTT - Message Queuing Telemetry Transport

อินเทอร์เน็ตทุกวันนี้เราอาจจะมองแทบทุกอย่างเป็นเว็บไปได้เพราะการสื่อสารส่วนมากบนอินเทอร์เน็ตส่งข้อมูลผ่านโปรโตคอล HTTP แต่ในโลกยุค Internet of Things (IoT) อีกโปรโตคอลที่กำลังมีการใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ คือ MQTT หรือ MQ Telemetry Transport โปรโตคอลสำหรับการเชื่อมต่อแบบ machine-to-machine หรือคอมพิวเตอร์สู่คอมพิวเตอร์


MQTT คืออะไร
MQTT ย่อมาจาก Message Queuing Telemetry Transport เป็นโปรโตคอลสำหรับใช้ในสื่อสารข้อมูลระหว่าง Machine to Machine (M2M) ถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1999 โดย Dr Andy Stanford-Clark จาก IBM และ Arlen Nipper จาก Arcom (now Eurotech) ออกแบบมาเพื่อใช้สื่อสารในระบบเครือข่ายที่มีทรัพยากรค่อนข้างจำกัด ใช้งานแบนด์วิธต่ำ สามารถ publish-subscribe ข้อมูลระหว่าง Device เพื่อสื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์ และถ้ามองในด้านที่เกี่ยวกับ Internet of Things จะสามารถประยุกต์ให้อุปกรณ์ต่างๆเชื่อมต่อกันผ่านเครือข่ายของอินเทอร์เน็ตได้ ทำให้เราสามารถสร้างสรรค์โครงงานที่เกี่ยวกับการติดตามอุปกรณ์ เช่น มอนิเตอร์อุปกรณ์ผ่านอินเทอร์เน็ต ควบคุมอุปกรณ์ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

สำหรับระบบ IoT นั้น การติดต่อสู่ Internet นั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเพราะอินเทอเน็ตทำให้อุปกรณ์ IoT ต่าง ๆสามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ MQTT (Message Queue Telemetry Transport) ซึ่งพัฒนาต่อมาจาก TCP/IP อีกทีนั้นได้กลายเป็น protocol มาตรฐานสำหรับระบบ IoT และเนื่องจากมันสร้างมาจาก TCP/IP นั้นทำให้ MQTT ประกันว่าข้อมูลที่ส่งกันระหว่างอุปกรณ์ IoT นั้นไม่มีการหล่นหายระหว่างทาง

MQTT ประกอบด้วย อะไรบ้าง

– MQTT Client เป็นส่วน publish ข้อมูลต่างๆ ขึ้นไปยัง MQTT Broker และสามารถ Subscribe ข้อมูลต่างๆจาก MQTT Broker ผ่านทาง TCP/IP Protocol ถ้ามองในมุมมองของ Internet of Things (IoT) อุปกรณ์จำพวกนี้จะเป็น Device ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ เช่น บอร์ด Arduino Uno Wifi 2, Arduino MKR Wifi 1010, บอร์ด ESP32, บอร์ด ESP8266, บอร์ด Raspberry Pi, เว็ปไซต์, สมาร์ทโฟน

– MQTT Broker หรือ MQTT Server เป็นซอฟต์แวร์สำหรับรับข้อมูลจาก MQTT Client ที่ได้ publish เข้ามาและสามารถ publish ข้อมูลจาก MQTT Broker ไปยัง MQTT Client ที่ได้ Subscribe ข้อมูลไว้ได้ หากมองในมุมมองของ Internet of Things อุปกรณ์นี้อาจจะเป็น Cloud Server ของค่ายต่างๆ เช่น CloudMQTT, NETPIE, Azure, AWS เป็นต้น หรือใช้ Single Board Computer เช่นบอร์ด Raspberry Pi, LattePanda, Beagle Bone, nanoPi, อื่นๆ แล้วติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่มเติมก็สามารถใช้งานได้เช่นกัน

ตัวอย่างการสื่อสารเบื้องต้นของ MQTT

1. กำหนดให้ Client Device ในตัวอย่างนี้จะเป็นสมาร์ทโฟน ทำการ Subscribe MQTT Broker ตาม Topic ที่ต้องการ ตัวอย่างนี้ติดตาม Topic “temp” ไว้

2. กำหนดให้ Client Device (Device ที่ต่อกับเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ) แล้วทำการ Publish ค่าขึ้นไปยัง MQTT Broker

3. MQTT Broker Publish ไปยังอุปกรณ์ที่ Subscribe ไว้ ดังนั้นในตัวอย่างนี้สมาร์ทโฟนจะได้รับข้อมูลจาก Client ที่ต่ออยู่กับเซ็นเซอร์เรียบร้อย

จากตัวอย่างการสื่อสารเบื้องต้นของ MQTT จะเห็นได้ว่าการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์นั้นสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดในเรื่องชนิดอุปกรณ์ว่าจำเป็นต้องเป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน สามารถสื่อสารกันได้หลากหลายแพลตฟอร์ม มีตัวอย่างการใช้งานสำหรับการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาต่างๆ มากมายเช่น ภาษา C, Python และอื่นๆ ทำให้การเชื่อมต่อแบบ MQTT นี้น่าสนใจสำหรับการนำมาประยุกต์ใช้เป็นงานพอสมควร

สรุปประโยนชน์ของ MQTT

1. แค่เขียนโค้ดง่ายๆจากอุปกรณืของเราก็สามารถ เข้าถึงการทำงานของ MQTT ได้แล้ว

2. ประหยัดพลังงานในการส่งข้อมูล ซึ่งใช่กับอุปกรณ์ที่ใช่แค่ ถ่ายแบตเตอร์รี่ หรือ มีขนาด CPU น้อยๆ ได้

3. ติดตั้งระบบง่ายไม่ว่าจะเป็นฝั่ง broker หรือ client ซึ่งใน Python ก็มี library แล้ว

4. เป็น ระบบแบบ event-driven หรือก็คือสามารถรับข้อมูลได้ตลอดเวลาที่ topic นั้นๆ ถูก publish

5. เพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูล เนื่องจาก headers ของข้อมูลนั้นมีขนาดเล็ก

6. สามารถแชร์ข้อมูลจาก อุปกรณ์ ไปยังอุปกรณ์อื่นๆได้ง่าย

ก็จบไปแล้วสำหรับบทความนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อหลายๆคนที่กำลังตั้งใจจะศึกษาเกี่ยวกับระบบ IoT ซึ่งความรู้ตรงนี้จะเอาไปต่อยอดเวลาตอนที่เราจะ ดีไซน์ ระบบของเราได้

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

SNMP - Simple Network Management Protocol


ในปัจจุบันนี้เราปฎิเสธไม่ได้ว่าระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ตมีส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตของเรา ไม่องค์กรหรือธุรกิจไหนต่างก็ต้องมีระบบเครือข่ายเป็นตัวเอง แต่ว่าสิ่งเรามักละเลยกับมันนั้นก็คือ การดูแลรักษาระบบเครือข่ายของเราให้ใช้ได้อยู่อย่างสม่ำเสมอ บริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ๋มักจะมีการว่าจ้างผู้ดูแลระบบเพื่อมาดูแลในส่วนระบบเครือข่ายนี้ แต่ว่าหากอุปกรณ์เหล่านั้นมีจำนวนมาก ก็เป็นเรื่องยากที่คนหนึ่งคนจะตามไปซ่อมบำรุงรักษาให้ทั้งหมดดังนั้นจึงมีการคิดค้นโปรโตคอลตัวหนึ่ง เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังและติดตามผลการทำงานของอุปกรณ์ เพื่อให้เราสามารถทราบตำแหน่งของอุปกรณ์ที่มีปัญหาเหล่านั้น และเข้าไปซ่อมบำรุงแก้ไขได้ทันที และในวันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักโปรโตคอลตัวนั้น เพื่อให้เข้าใจหลักการทำงานและเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดูแลระบบ ซึ่งโปรโตคอลนั้นก็คือ SNMP

SNMP คืออะไร
SNMP เป็นคำย่อมาจาก Simple Network Management Protocol เป็นโปรโตคอลที่ใช้รวบรวมจัดเรียงข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์เครือข่าย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปจากเดิมโดยผ่าน IP Address ขอซึ่ง อาทิเช่น Router, Modems, Switch, Server, Workstations, Printer ฯลฯSNMP มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายสำหรับทำ network management หรือระบบการ monitoring โดน SNMP จะเก็บข้อมูลในรูปแบบตัวแปรและจัดการโดย management information base (MIB) ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลหรือ database สำหรับการจัดการหรือเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆบนอุปกรณ์ใน networkณ

ในปัจจุบัน SNMP ได้มีการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ และความยืดหยุ่นในการใช้งานแบ่งออกได้เป็น 3 เวอร์ชั่น คือ SNMPv1, SNMPv2, SNMPv3 ตามลำดับ

หลักการทำงานของ SNMP
เมื่อทราบแล้วว่า SNMP คืออะไร มาดูกันต่อว่าแล้ว SNMP ทำงานอย่างไร โดยส่วนมากแล้วเราใช้ SNMP สำหรับการบริหารจัดการระบบ computer จำนวนมาก ซึ่งมีความสามารถในการ monitor หรือจัดการกลุ่ม host หรือ อุปกรณ์ใน network โดยอุปกรณ์ในระบบจะ agent ที่คอยทำงานเพื่อตรวจสอบตอดลเวลา และก็จะส่ง report กลับไปหาตัว manger ที่เป็นฝั่ง server

SNMP จะมีส่วนประกอบด้วยกัน 3 ตัวหลักคือ
- ตัวอุปกรณ์ที่อยู่ใน network
- Agent — เป็น software ที่ต้องติดตั้งอยุ่บนอุปกรณ์เพื่อทำการตรวจสอบและ report สิ่งผิดปกติ
- Network management station (NMS) — เป็น software ของฝั่ง SNMP server หรือที่เรียกว่า manger คอยรับและเก็บรวบรวมข้อมูลจาก agent
โครงสร้างของ Protocol SNMP
SNMP ทำงานในระดับ Application Layer ในรูปแบบ Internet Protocol Suit ซึ่ง SNMP agent จะรับคำสั่งผ่านทาง UDP port 161 โดยตัว manager จะส่งคำสั่งไปยัง port 161 บนอุปกรณ์ฝั่ง agent จากนั้น agent จะส่งข้อมูลกลับไปยัง manager ตามที่ร้องขอมา ส่วนฝั่ง manager จะมีการรับ notification หรือที่เรียกกันว่า Traps (SNMP Traps) ที่ port 162 โดยฝั่ง agent จะเป็นคนส่ง notification เมื่อพบสิ่งผิดปกติตามที่ตั้ง rule เอาไว้ เพื่อส่งข้อมูลดังกล่าวไปยัง manager port 162 แต่ถ้าใช้เป็น secure port หรือ Transport Layer Security (TLS) สำหรับ agent จะเป็น port 10161 และ ฝั่ง manager trap จะเป็น port 10162

PDU 8 ชนิด

1. GetRequest (manager to agent)
เป็นการที่ฝั่ง manger ส่งคำขอดูข้อมูลไปยัง agent โดยจะกำหนดข้อมูลที่ต้องการไปใน object ภายใน message หรือที่เรียกว่า object identifier เช่น 1.3.6.1.2.1.1.1.0 หมายถึงต้องการทราบข้อมูล sysDescr หรือ ข้อมูลรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ agent ติดตั้งอยู่ ซึ่งทาง agent เองก็จะตอบข้อมูลรายละเอียดดังกล่าวกลับไป

2. GetNextRequest (manager to agent)
เป็น PDU ที่ทาง manager ส่งไปหา agent เพื่อเอาข้อมูลตัวแปร โดยค่าของ object ตัวต่อจาก object ID ที่กำหนดใน MIB ส่วนใหญ่จะใช้ในการเอาค่าเข้าสู่ตาราง เพราะถ้า Manager ไม่ทราบ index ที่จะดึงก็จะไม่สามารถดึงค่าออกมาได้ แต่สำหรับ GetNextRequest จะกำหนด Object ID ในตารางของตัวถัดไปเรื่อยๆเอง

3. SetRequest (manager to agent)
เป็นฝั่ง manager ส่งคำสังไปยัง agent เพื่อกำหนด set ค่าของตัวแปร หรือเปลี่ยนแปลงค่าที่ configure ไว้ใน MIB ของอุปรณ์นั้นๆ

4. Response (agent to manager)
เป็นฝั่ง agent ส่งหา manager เพื่อตอบกลับข้อมูลจากคำสั่ง PDU GetRequest หรือ GetNextRequest โดยจะส่งข้อมูลของตัวแปรที่ร้องขอกลับไปหา manager

5. Trap (agent to manager)
เป็นฝั่ง agent ส่งหา manager เพื่อแจ้งหรือ notify เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนฝั่ง agent เอง เช่นเกิดการ reboot server หรือมีค่าบางอย่างที่สูงถึง trigger ที่กำหนด

6. GetbulkRequest (manager to agent)
ถูกเพิ่มเข้ามาหลังจากพัฒนา Version 2 เป็นการที่ manager ส่งคำสั่งไปหา agent เพื่อเอาชุดข้อมูลขนาดใหญ่ แทนการ GetRequest หรือ GetNextRequest หลายๆครั้ง

7. InFormRequest (manager to manager)
ถูกเพิ่มเข้ามาหลังจากพัฒนา Version 2 เช่นเดียวกันเป็นฝั่ง manager ส่งหา manager กันเอง เพื่อรับค่าตัวแปรบางอย่างจาก agent ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ manger อีกตัวซึ่งจะต้องต้อบกลับด้วย Response PDU เช่นกัน

8. Report (manager to manager)
เป็นการส่งรายงานข้อผิดพลาดในระบบระหว่าง manager ด้วยกันเอง เป็นส่วนที่เพิ่มขึ้นมาเมื่อพัฒนาเป็น Version 3