วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2563

7 นวัตกรรมกล้องวงจรปิดแห่งอนาคต

 


ในยุคปัจจุบันนั้นการเปิดกว้างทางด้านเทคโนโลยีและการติดต่อสื่อสาร ทำให้เกิดนวัตกรรมสุดล้ำต่างๆ ขึ้นอย่างมากมายและหนึ่งในนั้นก็คือกล้องวงจรปิดที่ถูกพัฒนาขึ้นให้มีความสามารถมากมายหลากหลาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัย และในบทความนี้เราจะขอแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับ 7 นวัตกรรมสุดล้ำที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกล้องวงจรปิดกัน

มุมมองกล้อง 360 องศา

กล้องวงจรปิดส่วนใหญ่มีมุมมองของเลนส์กว้างสุดราวร้อยกว่าองศา ซึ่งก็อาจเพียงพอสำหรับการเฝ้ามองสำหรับหลายๆ แห่ง แต่หากต้องการสายตาที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น ก็ต้องเพิ่มจำนวนกล้อง รวมถึงการวางตำแหน่งติดตั้งที่แตกต่างกัน ซึ่งดูแล้วก็เป็นทั้งความง่ายและยากในงานเดียวกัน ทำให้ผู้ผลิตหลายๆ แบรนด์ ต่างตั้งเป้าพัฒนามุมมองของเลนส์กล้องวงจรปิดให้กว้างถึง 180 องศา และยังสามารถพัฒนาได้ถึง 360 องศา ซึ่งอาจเป็นไปได้จากการทำงานด้วยตัวมันเอง หรือทำงานร่วมกับซอร์ฟแวร์ แต่นั่นล้วนเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้กล้องหนึ่งตัว มีประสิทธิภาพมากขึ้นหลายเท่าตัว



กล้องวงจรปิดมุมองแบบ Fisheye ช่วยให้การมองเห็นนั้นกว้างขึ้น

การจดจำใบหน้า

อาจเป็นเรื่องน่าเหลือเชื่อทีกล้องวงจรปิดสำหรับรักษาความปลอดภัย ถูกพัฒนาถึงขั้นสามารถจดจำรูปลักษณ์ใบหน้าของผู้ผ่านเข้ามาในสายตาของมัน แต่นั่นได้กลายเป็นความจริงไปแล้ว เทคโนโลยีกล้อง CCTV ยุคใหม่ที่มาพร้อมกับคุณสมบัติการจดจำใบหน้า เริ่มเป็นที่นิยมในหลายรูปแบบ ทั้งการประยุกต์ใช้ในห้างสรรพสินค้า โรงเรียน ธนาคาร ลานอเนกประสงค์ ฯลฯ ปัจจุบันเทคโนโลยีก็ได้มีการนำมาใช้จริงในประเทศจีนแล้ว ซึ่งช่วยให้ทางเจ้าหน้าที่รัฐสามารถสืบหาตัวคนร้ายได้เมื่อเกิดเหตุอาชญากรรม



ตัวอย่างการจดจำใบหน้าของกล้องวงจรปิดและวิเคราะห์บุคคลผู้ต้องสงสัย
การตรวจจับการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต

โดยปกติแล้วกล้องวงจรปิดไม่สามารถแยกระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตได้ การพัฒนาระบบนี้ขึ้นมาจึงทำให้กล้องวงจรปิดสามารถแยกความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับสิ่งของ ซึ่งเป็นผลดีมากๆ ในการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัย เพราะหากมีโจรเข้ามาในบ้าน แล้วกล้องวงจรปิดสามารถจับภาพขโมยได้ก็สามารถส่งข้อความแจ้งเตือนไปยังเจ้าของบ้าน หรืออาจเปิดสัญญาณกันขโมยเองเลยก็ได้ แต่ว่าการพัฒนาระบบตรวจจับการเคลื่อนไหว ยังมีข้อที่น่ากังวลอยู่นั้นก็คือการแยกระหว่างมนุษย์กับสัตว์เลี้ยง แต่เราเชื่อว่าในอนาคตด้วยความก้าวหน้าในเทคโนโลยีจะช่วยให้แก้ไขปัญหานี้หมดไป



กล้องวงจรปิดตรวจจับการเคลื่อนไหวโดย PIR Sensor พร้อมสัญญาณไฟกระพริบเพื่อแจ้งเตือน

ถ่ายภาพในที่มืดแม้ไร้แสง

กล้งวงจรปิดส่วนใหญ่เมื่อถึงเวลากลางคืนกล้องจะตัดเปลี่ยนไปใช้โหมดอินฟราเรด เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพได้ในที่มืด แต่ว่าภาพที่ได้จากจะเป็นภาพ ขาว-ดำ ไร้สีสันทำให้มองเห็นรายละเอียดไม่ค่อยมาก ผู้ผลิตกล้องวงจรปิดเล็งเห็นปัญหานี้จึงต่างกัน พัฒนาเทคโนโลยีใหม่เพื่อให้กล้องทำงานได้มีประสิทธิภาพในที่มืด จนทำให้เกิดเป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทำให้กล้องสามารถมองเห็นภาพสีได้ทั้งตอนกลางวันและตอนกลางคืน



เปรียบเทียบกล้องวงจรปิดแบบธรรมดากับกล้องวงจรปิดที่มีเทคโนโลยีมองเห็นภาพสีตอนกลางคืน
การเชื่อมต่อแบบไร้สาย

ในสมัยก่อนระบบกล้องวงจรปิดเป็นระบบปิดไม่สามารถดูออนไลน์ หรือเชื่อมต่อกับมือถือได้ แต่ว่าในปัจจุบันนี้อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการดำรงชีวิต ทำให้กล้องวงจรปิดถูกพัฒนาให้สามารถทำงานแบบออนไลน์ได้ อาทิเช่น การดูภาพจากกล้องวงจรปิดภาพมือถือ การบันทึกภาพเหตุการณ์ต่างๆ บน Cloud Storage หรือแม้กระทั่งการส่งข้อความแจ้งเตือนมายังผู้ใช้ เป็นต้น



ตัวอย่างการดูภาพจากกล้องวงจรปิดด้วยมือถือ

กล้องพลังงานแสงอาทิตย์

ด้วยการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศบนโลกในทุกวันนี้ ย่อมเป็นที่มาของแนวคิดการใช้พลังงานจากธรรมชาติอย่างจริงจัง ซึ่งไม่เว้นแม้ระบบกล้องวงจรปิดเพื่อรักษาความปลอดภัย นั้นจึงทำให้เกิดกล้องวงจรปิดพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นมา ซึ่งนอกจากจะช่วยรักษาความปลอดภัยได้แล้ว ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพราะใช้พลังงานธรรมชาติจากแสงอาทิตย์ และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในบ้านระยะยาว แม้กล้องวงจรปิดพลังงานอาทิตย์จะเป็นกล้องที่ใช้งานได้เฉพาะภายนอกบ้านบริเวณที่โล่งแจ้ง แต่นี่ก็คือจุดเริ่มของการพัฒนากล้องวงจรปิดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม



กล้องวงจรปิดที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
การพูดคุย ตอบโต้ สื่อสาร

กล้องวงจรปิดไม่เป็นเพียงวัตถุใบ้หรือไร้เสียงอีกต่อไป เพราะตอนนี้พวกมันสามารถส่งเสียงได้ ทั้งเพื่อการป้องกันภัย ตอบโต้ รวมถึงพูดคุย เริ่มแรกกล้องวงจรปิดเป็นเพียงการนำเสนอภาพที่บันทึกไว้ ตามต่อด้วยพัฒนาการส่งเสียงเพื่อป้องกันภัยหรือสร้างความตกใจแก่ผู้ไม่หวังดี แต่ว่าตอนนี้กล้องวงจรปิดสามารถพูดคุยกันระหว่างต้นและปลายทาง อาทิ ครอบครัวคุยกัน ส่งเสียงทักทายและรอการตอบกลับจากเด็กน้อยหรือสัตว์เลี้ยง การส่งเสียงดังเพื่อขับไล่ผู้ไม่หวังดี รวมถึงการเจรจา/ต่อรองต่างๆ ก็อาจถูกประยุกต์ใช้งานผ่านกล้องวงจรปิดยุคใหม่ได้เช่นกัน



กล้องวงจรปิด Wifi นอกจากดูออนไลน์ได้แล้ว เราสามารถพูดคุยกับคนอื่นผ่านกล้องได้ด้วย

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2563

AI นวัตกรรมเปลี่ยนแปลงอนาคต

 


ปัจจุบันเราปฎิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI นั้นได้เข้ามีส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโลกใบนี้ ไม่ใช่เพียงแค่ด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงด้านอุตสาหกรรมและธุรกิจอื่นๆ โดยเฉพาะด้านการแพทย์ และที่สำคัญปํญญาประดิษฐ์หรือ AI ยังสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้มีนักธุรกิจหรือนักลงทุนจากหลากหลายแห่ง พร้อมที่จะลงทุน และคาดหวังผลตอบแทนจากมันค่อนข้างสูง และในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กัน

AI คืออะไร

AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence แปลงตรงตัวก็คือ ปัญญาประดิษฐ์ หมายถึงโปรแกรมที่ถูกเขียนและพัฒนาให้มีความฉลาด มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจได้ จากการประมวลผลของฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และยังสามารถดัดแปลงการประมวลผล ประยุกต์ ให้เป็นไปตามสถานการณ์ต่างๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องรอการอนุมัติจากมนุษย์ AI เป็นยิ่งกว่าระบบประมวลผล และเป็นยิ่งกว่า Machine Learning เพราะผลลัพธ์ของ AI คือ การกระทำ เช่น การคุยโต้ตอบใน SIRI การใช้ระบบสแกนหน้าเพื่อปลดล็อคมือถือ เป็นต้น ในขณะที่ ผลลัพธ์ของ Machine Learning เป็นตัวเลข หรือรายงาย ซึ่งมนุษย์จะต้องนำผลลัพธ์นั้นไปสร้างเป็นการกระทำในลำดับต่อไป

อย่างไรก็ตาม Machine Learning ถือเป็น Sub-set ของ AI เพราะถือเป็นระบบประมวลผลที่สามารถประมวลผลเชิงลึก คล้ายความฉลาดของมนุษย์ แต่มิใช่ทั้งหมดของ AI

ประวัติศาสตร์การคิดค้นปัญญาประดิษฐ์

เราขอย้อนอดีตกลับไปยังจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กันก่อน แนวคิดเรื่องเครื่องจักรที่คิดได้และสิ่งมีชีวิตเทียมนั้นมีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ เช่นหุ่นยนต์ทาลอสแห่งครีต อันเป็นหุ่นยนต์ทองแดงของเทพฮิฟีสตัส แหล่งอารยธรรมใหญ่ ๆ ของโลกมักจะเชื่อเรื่องหุ่นยนต์ที่มีความคล้ายกับมนุษย์ เช่น ในอียิปต์และกรีซ ต่อมา ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 และ 20 สิ่งมีชีวิตเทียมเริ่มปรากฏอย่างแพร่หลายในนิยายวิทยาศาสตร์ เช่น แฟรงเกนสไตน์ของแมรี เชลลีย์ หรือ R.U.R.ของกาเรล ชาเปก แนวคิดเหล่านี้ผ่านการอภิปรายมาอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในแง่ของความหวัง ความกลัว หรือความกังวลด้านศีลธรรมเนื่องจากการมีอยู่ของปัญญาประดิษฐ์

กลไกหรือการให้เหตุผลอย่างมีแบบแผน ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณ การศึกษาด้านตรรกศาสตร์นำไปสู่การคิดค้นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัลที่โปรแกรมได้โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ของแอลัน ทัวริงและคนอื่น ๆ ทฤษฎีการคำนวณของทัวริงชี้ว่า เครื่องจักรที่รู้จักการสลับตัวเลขระหว่าง 0 กับ 1 สามารถเข้าใจนิรนัยทางคณิตศาสตร์ได้ หลังจากนั้น การค้นพบทางด้านประสาทวิทยา ทฤษฎีสารสนเทศ และไซเบอร์เนติกส์ รวมทั้งทฤษฎีการคำนวณของทัวริง ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเริ่มสนใจพิจารณาความเป็นไปได้ของการสร้าง สมองอิเล็กทรอนิกส์ ขึ้นมาอย่างจริงจัง

สาขาปัญญาประดิษฐ์นั้นเริ่มก่อตั้งขึ้นในที่ประชุมวิชาการที่วิทยาลัยดาร์ตมัธ สหรัฐอเมริกาในช่วงหน้าร้อน ค.ศ. 1956 โดยผู้ร่วมในการประชุมครั้งนั้น ได้แก่ จอห์น แม็กคาร์ธีย์, มาร์วิน มินสกี, อัลเลน นิวเวลล์, อาเธอร์ ซามูเอล และเฮอร์เบิร์ต ไซมอน ที่ได้กลายมาเป็นผู้นำทางสาขาปัญญาประดิษฐ์ในอีกหลายสิบปีต่อมา นักวิทยาศาสตร์และนักศึกษาของพวกเขาเหล่านี้เขียนโปรแกรมที่หลายคนทึ่ง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ที่สามารถเอาชนะคนเล่นหมากรุก แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับคำด้วยพีชคณิต พิสูจน์ทฤษฎีทางตรรกวิทยา หรือแม้กระทั่งพูดภาษาอังกฤษได้ ผู้ก่อตั้งสาขาปัญญาประดิษฐ์กลุ่มนี้เชื่อมั่นในอนาคตของเทคโนโลยีใหม่นี้มาก โดยเฮอร์เบิร์ต ไซมอนคาดว่าจะมีเครื่องจักรที่สามารถทำงานทุกอย่างได้เหมือนมนุษย์ภายใน 20 ปีข้างหน้า และมาร์วิน มินสกีก็เห็นพ้องโดยการเขียนว่า "เพียงชั่วอายุคน ปัญหาของการสร้างความฉลาดเทียมจะถูกแก้ไขอย่างยั่งยืน"

เทคโนโลยี AI ในโลกยุคปัจจุบัน

หากผู้ถึง AI แล้วผู้คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงหุ่นยนต์ความคิดเหมือนกับมนุษย์ เหมือนในนิยายวิทยาศาสตร์หรือ หนัง Sci-Fi ที่เราดูกัน ซี่งตอนนี้มันไม่ได้เป็นเพียงแค่นิยายเพ้อฝันอีกแล้ว เพราะในโลกเรามีหุ่นยนต์แบบนั้นจริง ขอแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับหุ่นยนต์โซเฟีย (Sophia) หุ่นยนต์ AI ที่เรียกได้ว่าใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด เธอสามารถโต้ตอบได้เหมือนมนุษย์และได้ไปปรากฎตัวบนเวทีโลกมาแล้วหลายเวที และเธอยังเป็นหุ่นยนต์ตัวแรกของโลกที่ได้รับสัญชาติซาอุดิอาระเบีย แม้ว่าโซเฟียจะทำได้แค่พูดคุยตอบโต้กับผู้คนได้เท่านั้น แต่นี่ก็คือหลักฐานที่แสดงให้เห็นแล้ว AI สามารถมีความคิดความอ่านเหมือนมนุษย์ได้



Sophia มาเยือนประเทศไทยในงาน Manufacturing Expo 2018

นอกจากหุ่นยนต์โซเฟียแล้ว ยังมีหุ่นยนต์ AI ตัวอื่นๆ อยู่ด้วยเช่นกัน แม้ว่าบางตัวอาจไม่สามารถพูดคุยตอบโต้ได้เหมือนโซเฟีย แต่ว่าก็มีส่วนช่วยสำคัญในการดำเนินธุรกิจต่างๆ อาทิเช่นในธุรกิจโรงแรมในญี่ปุ่นมีการใช้หุ่นยนต์เข้ามาเป็นพนักงานประชาสัมพันธ์ คอยต้อนรับผู้เข้าพัก หรือ HapyBot หุ่นยนต์ขนส่งอัตโนมัติของประเทศไทยเราเอง เข้ามาใช้โรงพยาบาลเพื่อขนส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ เข่น ยา, วัคซีน, เลือด หรือ เอกสารคนไข้ เป็นต้น และนอกจากนี้ยังสามารถเป็นหุ่นยนต์นำทางให้แก่ผู้ป่วยได้ด้วย



ภาพงานแถลงข่าวการใช้ HapyBot รองรับคนไข้ในช่วงสถานการณ์ COVID-19

AI กับระบบรักษาความปลอดภัย

นอกจากด้านการแพทย์และธุรกิจแล้ว เทคโนโลยี AI ยังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบรักษาความปลอดภัย อาทิเช่น HP Robotcop หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย ที่ทำหน้าที่เป็นกล้องวงจรปิดเคลื่อนที่คอยสอดส่องเหตุการณ์บริเวณต่างที่อาจก่อให้เกิดอาชญากรรมได้ ทางด้านกล้องวงจรปิดเองก็มีนวัตกรรมจดจำใบหน้าและแยกแยะบุคคลได้ ซึ่งช่วยในการค้นหาตัวคนร้ายที่แอบหลบซ่อนอยู่ในฝูงชนได้เป็นอย่างดี และในสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ระบาด บริษัท Megvii เองก็ได้มีคิดค้นระบบตรวจจับอุณหภูมิร่างกายอัจฉริยะที่เรียกว่า Ming ji Mini ที่นอกจากจะวัดอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำแล้ว ยังสามารถแยกแยะใบหน้าบุคคลได้แม้ใส่หน้ากาก และยังทำงานร่วมกับระบบ Access Control หรือระบบบันทึกเวลาพนักงานได้ด้วย



Ming Ji Mini สามารถวัดอุณหภูมิแยกแยะและจดจำใบหน้าของแต่ละคนได้แม้ใส่หน้ากาก

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563

ความแตกต่างของสัญญาณ Analog และ Digital

 


หากพูดถึงเกี่ยวกับเทคโนโลยี คำศัพท์ที่เรามักจะได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ก็คือ Analog กับ Digital ทั้ง 2 คำนี้นับว่าเป็นพื้นฐานของวิชาดิจิตอล และเป็นความสำคัญอย่างยิ่งของการก่อเกิดเทคโนโลยีต่าง ๆ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสัญญาณหรือโทรคมนาคม ในบทความนี้เราจะมาอธิบายถึงความมแตกต่างของสัญญาณ Analog และ Digital กัน

Analog and Digital
สัญญาณที่ใช้ในระบบสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือสัญญาณอนาลอกและสัญญาณดิจิตอล สัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณที่มีขนาดเป็นค่าต่อเนื่องส่วนสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณ ที่มีขนาดเปลี่ยนแปลง เป็นค่าของเลขลงตัว โดยปกติมักแทนด้วย ระดับแรงดันที่แสดงสถานะเป็น "0" และ "1" หรืออาจจะมีหลายสถานะ ซึ่งจะกล่าวถึงในเรื่องระบบสื่อสารดิจิตอล มีค่าที่ตั้งไว้ (threshold) เป็นค่าบอกสถานะ ถ้าสูงเกินค่าที่ตั้งไว้สถานะเป็น "1" ถ้าต่่ากว่าค่าที่ตั้งไว้ สถานะเป็น "0" ซึ่งมีข้อดีในการท่าให้เกิดความผิดพลาดน้อยลงเนื่องจากสัญญาณรบกวนต้องมีค่าสูงกว่าค่าที่ตั้งไว้สถานะจึงจะเปลี่ยน ตัวอย่างเช่น ในระบบดิจิตอล สถานะของข้อมูลเป็น "0" สัญญาณรบกวนมีค่า 0.2 โวลต์ แต่ค่าที่ตั้งไว้เท่ากับ 0.5 โวลต์ สถานะ ยังคงเดิมคือเป็น "0" ในขณะที่ระบบอนาลอก สัญญาณรบกวนจะเติมเข้าไปใน สัญญาณจริงโดยตรง กล่าวคือสัญญาณจริงบวกสัญญาณรบกวนเป็นสัญญาณขณะนั้นท่าให้สัญญาณรบกวนมีผลต่อสัญญาณ จริงและมีความผิดพลาดเกิดขึ้นกระแสไฟฟ้าแบ่งออกได้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าไม่มี ส่วนเกี่ยวข้องกับระบบสื่อสารโทรคมนาคม เมื่อกล่าวถึงสัญญาณในเชิงประยุกต์ก็ อาจจะจ่าแนกใน หมวดหมู่นี้ได้ การไหลของไฟฟ้ากระแสตรงในวงจรอย่างสม่่าเสมอไม่สามารถส่งข่าวสารได้ แต่เมื่อไร ที่ท่าการควบคุมกระแสให้เป็นพัลส์โดยการเปิดสวิตซ์ กระแสจะลดลงสู่ศูนย์และปิดสวิตซ์ กระแสก็จะมีค่าค่าหนึ่ง พัลส์ของกระแสถูกผลิตตามรหัสที่ใช้แทนแต่ละตัวอักษรหรือตัวเลย โดยการรวมของพัลส์ การท่างานของสวิตซ์สามารถส่งข้อความใด ๆ ได้ ตัวอย่างที่เห็นได้เสมอได้แก่ รหัสมอร์ส เป็นต้น ส่วนไฟฟ้ากระแสสลับในรูปของคลื่นอยู่ในจ่าพวกคลื่นวิทยุมีการใช้งานอย่าง กว้างขวางเป็น ที่รู้จักกันดี

สัญญาณ Analog
สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) หมายถึง สัญญาณข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) มีขนาดของสัญญาณไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป มีลักษณะเป็นเส้นโค้งต่อเนื่องกันไป โดยการส่งสัญญาณแบบอนาล็อกจะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น


สัญญาณ Digital
สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ที่มีขนาดแน่นอนซึ่งขนาดดังกล่าวอาจกระโดดไปมาระหว่างค่าสองค่า คือ สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและติดต่อสื่อสารกันเป็นค่าของเลขลงตัว โดยปกติมักแทนด้วยระดับแรงดันที่แสดงสถานะเป็น "0" และ "1" หรืออาจจะมีหลายสถานะซึ่งจะกล่าวถึงในเรื่องระบบสื่อสารดิจิตอลมีค่าที่ตั้งไว้ (Threshold) เป็นค่าบอกสถานะ ถ้าสูงเกินค่าที่ตั้งไว้สถานะเป็น "1" ถ้าต่ำกว่าค่าที่ตั้งไว้สถานะเป็น "0" ซึ่งมีข้อดีในการทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง


ความแตกต่างระหว่างสัญญาณ Analog และ Digital
สัญญาณ Analog จะมีความต่อเนื่องกันเป็นรูปคลื่น หากช่วงใดช่วงหนึ่งของสัญญาณถูกรบกวนหรือสูญหายอาจทำให้ข้อมูลที่ได้รับหรือส่งไปมีความผิดเพี้ยนจากเดิม ต่างจากสัญญาณ Digital แม้รูปแบบคลื่นสัญญาณจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมและดูไม่ต่อเนื่อง แต่ว่าข้อมูลถูกแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนคือ 0 และ 1 ทำให้ประสิทธิในการส่งข้อมูลดีกว่า และแม้ว่าจะถูกสัญญาณรบกวน แต่ถ้าใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณก็สามารถคืนค่ากลับมาใด้ใกล้เคียงกับต้นฉบับเดิมได้

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563

Internet of Things (IoT) คืออะไร

 

ในโลกที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด หลายๆ คนมักจะได้ยินหรือคุ้นเคยกับคำว่า Internet of Things หรือ IoT กันมาบ้าง พวกเราต่างรู้กันว่า IoT คือสิ่งที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก และนำเทคโนโลยีพัฒนาออกไปได้ไกลมากขึ้น แต่ว่าแล้วอะไรคือ Internet of Things มันเปลี่ยนแปลงโลกนี้ยังไง ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปหาคำตอบกันว่า Internet of Things คืออะไร

ความหมายของ Internet of Things (IoT)

ถ้าแปลความหมายตรงตัวก็คือ “อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง” นั้นหมายถึง อุปกรณ์หรือสิ่งต่างๆ สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ทำให้เราสามารถดำเนินการจัดการหรือควบคุมอุปกรณ์หรือสิ่งต่างๆ เหล่านั้นได้ โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น การเปิด - ปิด อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ด้วยมือถือ เป็นต้น และด้วยเหตุจึงได้มีการกำเนิดเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม Smart ต่างๆ ให้เราเห็นกันในปัจจุบัน อาทิเช่น Smart Watch, หุ่นยนต์เครื่องดูดฝุนอัจฉริยะ, กล้องวงจรปิดอัจฉริยะ, หรือแม้กระทั่ง Cloud Storage ที่เราใช้เก็บไฟล์หรือข้อมูลต่างๆ บนก้อนเมฆก็นับเป็น  Internet of Things อย่างหนึ่งด้วยเหมือนกัน

แนวคิดเรื่อง Internet of Thing (IoT)

เดิมมาจาก Kevin Ashton บิดาแห่ง Internet of Things ในปี 1999 ในขณะที่ทำงานวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT เขาได้ถูกเชิญให้ไปบรรยายเรื่องนี้ให้กับบริษัท Procter & Gamble (P&G)  เขาได้นำเสนอโครงการที่ชื่อว่า  Auto-ID Center ต่อยอดมาจากเทคโนโลยี RFID ที่ในขณะนั้นถือเป็นมาตรฐานโลกสำหรับการจับสัญญาณเซ็นเซอร์ต่างๆ( RFID Sensors) ว่าตัวเซ็นเซอร์เหล่านั้นสามารถทำให้มันพูดคุยเชื่อมต่อกันได้ผ่านระบบ Auto-ID ของเขา โดยการบรรยายให้กับ P&G ในครั้งนั้น Kevin ก็ได้ใช้คำว่า Internet of Things ในสไลด์การบรรยายของเขาเป็นครั้งแรก โดย Kevin นิยามเอาไว้ตอนนั้นว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆก็ตามที่สามารถสื่อสารกันได้ก็ถือเป็น “internet-like” หรือพูดง่ายๆก็คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สื่อสารแบบเดียวกันกับระบบอินเตอร์เน็ตนั่นเอง โดยคำว่า “Things” ก็คือคำใช้แทนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆเหล่านั้น


Kevin Ashton บิดาแห่ง Internet of Things

ต่อมาในยุคหลังปี 2000 มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ถูกผลิตออกจัดจำหน่ายเป็นจำนวนมากทั่วโลก จึงเริ่มมีการใช้คำว่า Smart ซึ่งในที่นี้คือ Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation ต่างๆเหล่านี้ ล้วนถูกฝัง RFID Sensors เสมือนกับการเติม ID และสมอง ทำให้มันสามารถเชื่อมต่อกับโลกอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งการเชื่อมต่อเหล่านั้นเองก็เลยมาเป็นแนวคิดที่ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นก็ย่อมสามารถสื่อสารกันได้ด้วยเช่นกัน โดยอาศัยตัว Sensor ในการสื่อสารถึงกัน นั่นแปลว่านอกจาก Smart Device ต่างๆจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้ว ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ตัวอื่นได้ด้วย

IoT กับระบบรักษาความปลอดภัย

ประโยชน์อย่างหนึ่งของการที่เทคโนโลยี IoT เปิดโอกาสความเป็นไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งขึ้นอยู่กับแนวคิดนำไปพัฒนาและหนึ่งในนั้นก็คือ การพัฒนาระบบ Security หรือระบบรักษาความปลอดภัย นั้นเอง เริ่มตั้งแต่ระบบรักษาความปลอดภัยอย่าง กล้องวงจรปิด (CCTV) ที่ถูกพัฒนาจนกลายมาเป็น กล้องวงจรปิดแบบไร้สายที่สามารถดูภาพได้ทุกที่ผ่านสมาร์ทโฟน

หรือระบบสวิตซ์ไฟอัจฉริยะภายในบ้านซึ่งติดตั้งระบบเซ็นเซอร์แต่ละตัวลงไปยังระบบไฟส่องสว่างจุดที่สำคัญของบ้าน อาทิ ประตู หน้าต่าง ห้องเก็บตู้เซฟ เป็นต้น เมื่อเซ็นเซอร์ตรวจพบการทำงานที่ผิดปกติก็จะแจ้งไปยังผู้ใช้งานผ่านทางแอพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนทันที รวมทั้งการตัดเวลาปิดเปิดไฟทั้งในทันที่และล่วงหน้าได้

และยังมีระบบเปิดปิดประตูบ้านผ่าน IoT ที่สั่งงานได้โดยสมาร์ทโฟน หรือ Smart Watch รวมทั้งในรูปแบบอุปกรณ์กระดิ่งหน้าประตูบ้าน ซึ่งทำหน้าที่เป็นดั่งกลอนประตูบ้านรักษาความปลอดภัยที่สั่งเปิดปิดผ่านมือถือที่มาพร้อมระบบสแกนใบหน้า การตรวจสอบด้วยเสียงและเตือนภัยผ่านสมาร์ทโฟน แถมด้วยการเปิดระบบผ่านสมาร์ทโฟนเพื่อวีดิโอคอลคุยกับคนที่มาหาเราที่บ้านได้อีกด้วย

และอีกหนึ่งในผลงานนวัตกรรมที่นำเอาระบบ IoT มาใช้กับเทคโนโลยีหุ่นยนต์นั่นก็คือ “หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย” ที่มีการพัฒนาต่อยอดจนสามารถนำมาจำหน่ายและใช้งานจริง ซึ่งนอกจากงานรักษาความปลอดภัยภายในอาคารต่างๆแล้ว ก็ยังมีหุ่นยนต์ที่ใช้ตรวจสอบวัตถุต้องสงสัยว่าจะเป็นระเบิดพร้อมทั้งเก็บกู้แทนการใช้ชีวิตมนุษย์เข้าไปเสี่ยงโดยตรง


HP Robocop หุ่นยนต์สอดส่องดูแลรักษาความปลอดภัยจากแคลิฟอร์เนีย-สหรัฐอเมริกา

นี้จึงเป็นแนวทางการพัฒนาระบบ IoT ที่ถูกนำมาใช้ในระบบ Security โดยมีข้อดีก็คือการติดตั้งระบบและสั่งการต่างๆได้ด้วยตัวเองผ่านมือถือง่ายๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตให้กับเราและที่พักอาศัยในอนาคตต่อไปนั้นเอง