วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563

Internet of Things (IoT) คืออะไร

 

ในโลกที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด หลายๆ คนมักจะได้ยินหรือคุ้นเคยกับคำว่า Internet of Things หรือ IoT กันมาบ้าง พวกเราต่างรู้กันว่า IoT คือสิ่งที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก และนำเทคโนโลยีพัฒนาออกไปได้ไกลมากขึ้น แต่ว่าแล้วอะไรคือ Internet of Things มันเปลี่ยนแปลงโลกนี้ยังไง ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปหาคำตอบกันว่า Internet of Things คืออะไร

ความหมายของ Internet of Things (IoT)

ถ้าแปลความหมายตรงตัวก็คือ “อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง” นั้นหมายถึง อุปกรณ์หรือสิ่งต่างๆ สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ทำให้เราสามารถดำเนินการจัดการหรือควบคุมอุปกรณ์หรือสิ่งต่างๆ เหล่านั้นได้ โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น การเปิด - ปิด อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ด้วยมือถือ เป็นต้น และด้วยเหตุจึงได้มีการกำเนิดเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม Smart ต่างๆ ให้เราเห็นกันในปัจจุบัน อาทิเช่น Smart Watch, หุ่นยนต์เครื่องดูดฝุนอัจฉริยะ, กล้องวงจรปิดอัจฉริยะ, หรือแม้กระทั่ง Cloud Storage ที่เราใช้เก็บไฟล์หรือข้อมูลต่างๆ บนก้อนเมฆก็นับเป็น  Internet of Things อย่างหนึ่งด้วยเหมือนกัน

แนวคิดเรื่อง Internet of Thing (IoT)

เดิมมาจาก Kevin Ashton บิดาแห่ง Internet of Things ในปี 1999 ในขณะที่ทำงานวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT เขาได้ถูกเชิญให้ไปบรรยายเรื่องนี้ให้กับบริษัท Procter & Gamble (P&G)  เขาได้นำเสนอโครงการที่ชื่อว่า  Auto-ID Center ต่อยอดมาจากเทคโนโลยี RFID ที่ในขณะนั้นถือเป็นมาตรฐานโลกสำหรับการจับสัญญาณเซ็นเซอร์ต่างๆ( RFID Sensors) ว่าตัวเซ็นเซอร์เหล่านั้นสามารถทำให้มันพูดคุยเชื่อมต่อกันได้ผ่านระบบ Auto-ID ของเขา โดยการบรรยายให้กับ P&G ในครั้งนั้น Kevin ก็ได้ใช้คำว่า Internet of Things ในสไลด์การบรรยายของเขาเป็นครั้งแรก โดย Kevin นิยามเอาไว้ตอนนั้นว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆก็ตามที่สามารถสื่อสารกันได้ก็ถือเป็น “internet-like” หรือพูดง่ายๆก็คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สื่อสารแบบเดียวกันกับระบบอินเตอร์เน็ตนั่นเอง โดยคำว่า “Things” ก็คือคำใช้แทนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆเหล่านั้น


Kevin Ashton บิดาแห่ง Internet of Things

ต่อมาในยุคหลังปี 2000 มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ถูกผลิตออกจัดจำหน่ายเป็นจำนวนมากทั่วโลก จึงเริ่มมีการใช้คำว่า Smart ซึ่งในที่นี้คือ Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation ต่างๆเหล่านี้ ล้วนถูกฝัง RFID Sensors เสมือนกับการเติม ID และสมอง ทำให้มันสามารถเชื่อมต่อกับโลกอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งการเชื่อมต่อเหล่านั้นเองก็เลยมาเป็นแนวคิดที่ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นก็ย่อมสามารถสื่อสารกันได้ด้วยเช่นกัน โดยอาศัยตัว Sensor ในการสื่อสารถึงกัน นั่นแปลว่านอกจาก Smart Device ต่างๆจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้ว ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ตัวอื่นได้ด้วย

IoT กับระบบรักษาความปลอดภัย

ประโยชน์อย่างหนึ่งของการที่เทคโนโลยี IoT เปิดโอกาสความเป็นไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งขึ้นอยู่กับแนวคิดนำไปพัฒนาและหนึ่งในนั้นก็คือ การพัฒนาระบบ Security หรือระบบรักษาความปลอดภัย นั้นเอง เริ่มตั้งแต่ระบบรักษาความปลอดภัยอย่าง กล้องวงจรปิด (CCTV) ที่ถูกพัฒนาจนกลายมาเป็น กล้องวงจรปิดแบบไร้สายที่สามารถดูภาพได้ทุกที่ผ่านสมาร์ทโฟน

หรือระบบสวิตซ์ไฟอัจฉริยะภายในบ้านซึ่งติดตั้งระบบเซ็นเซอร์แต่ละตัวลงไปยังระบบไฟส่องสว่างจุดที่สำคัญของบ้าน อาทิ ประตู หน้าต่าง ห้องเก็บตู้เซฟ เป็นต้น เมื่อเซ็นเซอร์ตรวจพบการทำงานที่ผิดปกติก็จะแจ้งไปยังผู้ใช้งานผ่านทางแอพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนทันที รวมทั้งการตัดเวลาปิดเปิดไฟทั้งในทันที่และล่วงหน้าได้

และยังมีระบบเปิดปิดประตูบ้านผ่าน IoT ที่สั่งงานได้โดยสมาร์ทโฟน หรือ Smart Watch รวมทั้งในรูปแบบอุปกรณ์กระดิ่งหน้าประตูบ้าน ซึ่งทำหน้าที่เป็นดั่งกลอนประตูบ้านรักษาความปลอดภัยที่สั่งเปิดปิดผ่านมือถือที่มาพร้อมระบบสแกนใบหน้า การตรวจสอบด้วยเสียงและเตือนภัยผ่านสมาร์ทโฟน แถมด้วยการเปิดระบบผ่านสมาร์ทโฟนเพื่อวีดิโอคอลคุยกับคนที่มาหาเราที่บ้านได้อีกด้วย

และอีกหนึ่งในผลงานนวัตกรรมที่นำเอาระบบ IoT มาใช้กับเทคโนโลยีหุ่นยนต์นั่นก็คือ “หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย” ที่มีการพัฒนาต่อยอดจนสามารถนำมาจำหน่ายและใช้งานจริง ซึ่งนอกจากงานรักษาความปลอดภัยภายในอาคารต่างๆแล้ว ก็ยังมีหุ่นยนต์ที่ใช้ตรวจสอบวัตถุต้องสงสัยว่าจะเป็นระเบิดพร้อมทั้งเก็บกู้แทนการใช้ชีวิตมนุษย์เข้าไปเสี่ยงโดยตรง


HP Robocop หุ่นยนต์สอดส่องดูแลรักษาความปลอดภัยจากแคลิฟอร์เนีย-สหรัฐอเมริกา

นี้จึงเป็นแนวทางการพัฒนาระบบ IoT ที่ถูกนำมาใช้ในระบบ Security โดยมีข้อดีก็คือการติดตั้งระบบและสั่งการต่างๆได้ด้วยตัวเองผ่านมือถือง่ายๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตให้กับเราและที่พักอาศัยในอนาคตต่อไปนั้นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น