ปัจจุบันเราปฎิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI นั้นได้เข้ามีส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโลกใบนี้ ไม่ใช่เพียงแค่ด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงด้านอุตสาหกรรมและธุรกิจอื่นๆ โดยเฉพาะด้านการแพทย์ และที่สำคัญปํญญาประดิษฐ์หรือ AI ยังสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้มีนักธุรกิจหรือนักลงทุนจากหลากหลายแห่ง พร้อมที่จะลงทุน และคาดหวังผลตอบแทนจากมันค่อนข้างสูง และในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กัน
AI คืออะไร
AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence แปลงตรงตัวก็คือ ปัญญาประดิษฐ์ หมายถึงโปรแกรมที่ถูกเขียนและพัฒนาให้มีความฉลาด มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจได้ จากการประมวลผลของฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และยังสามารถดัดแปลงการประมวลผล ประยุกต์ ให้เป็นไปตามสถานการณ์ต่างๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องรอการอนุมัติจากมนุษย์ AI เป็นยิ่งกว่าระบบประมวลผล และเป็นยิ่งกว่า Machine Learning เพราะผลลัพธ์ของ AI คือ การกระทำ เช่น การคุยโต้ตอบใน SIRI การใช้ระบบสแกนหน้าเพื่อปลดล็อคมือถือ เป็นต้น ในขณะที่ ผลลัพธ์ของ Machine Learning เป็นตัวเลข หรือรายงาย ซึ่งมนุษย์จะต้องนำผลลัพธ์นั้นไปสร้างเป็นการกระทำในลำดับต่อไป
อย่างไรก็ตาม Machine Learning ถือเป็น Sub-set ของ AI เพราะถือเป็นระบบประมวลผลที่สามารถประมวลผลเชิงลึก คล้ายความฉลาดของมนุษย์ แต่มิใช่ทั้งหมดของ AI
ประวัติศาสตร์การคิดค้นปัญญาประดิษฐ์
เราขอย้อนอดีตกลับไปยังจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กันก่อน แนวคิดเรื่องเครื่องจักรที่คิดได้และสิ่งมีชีวิตเทียมนั้นมีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ เช่นหุ่นยนต์ทาลอสแห่งครีต อันเป็นหุ่นยนต์ทองแดงของเทพฮิฟีสตัส แหล่งอารยธรรมใหญ่ ๆ ของโลกมักจะเชื่อเรื่องหุ่นยนต์ที่มีความคล้ายกับมนุษย์ เช่น ในอียิปต์และกรีซ ต่อมา ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 และ 20 สิ่งมีชีวิตเทียมเริ่มปรากฏอย่างแพร่หลายในนิยายวิทยาศาสตร์ เช่น แฟรงเกนสไตน์ของแมรี เชลลีย์ หรือ R.U.R.ของกาเรล ชาเปก แนวคิดเหล่านี้ผ่านการอภิปรายมาอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในแง่ของความหวัง ความกลัว หรือความกังวลด้านศีลธรรมเนื่องจากการมีอยู่ของปัญญาประดิษฐ์
กลไกหรือการให้เหตุผลอย่างมีแบบแผน ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณ การศึกษาด้านตรรกศาสตร์นำไปสู่การคิดค้นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัลที่โปรแกรมได้โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ของแอลัน ทัวริงและคนอื่น ๆ ทฤษฎีการคำนวณของทัวริงชี้ว่า เครื่องจักรที่รู้จักการสลับตัวเลขระหว่าง 0 กับ 1 สามารถเข้าใจนิรนัยทางคณิตศาสตร์ได้ หลังจากนั้น การค้นพบทางด้านประสาทวิทยา ทฤษฎีสารสนเทศ และไซเบอร์เนติกส์ รวมทั้งทฤษฎีการคำนวณของทัวริง ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเริ่มสนใจพิจารณาความเป็นไปได้ของการสร้าง สมองอิเล็กทรอนิกส์ ขึ้นมาอย่างจริงจัง
สาขาปัญญาประดิษฐ์นั้นเริ่มก่อตั้งขึ้นในที่ประชุมวิชาการที่วิทยาลัยดาร์ตมัธ สหรัฐอเมริกาในช่วงหน้าร้อน ค.ศ. 1956 โดยผู้ร่วมในการประชุมครั้งนั้น ได้แก่ จอห์น แม็กคาร์ธีย์, มาร์วิน มินสกี, อัลเลน นิวเวลล์, อาเธอร์ ซามูเอล และเฮอร์เบิร์ต ไซมอน ที่ได้กลายมาเป็นผู้นำทางสาขาปัญญาประดิษฐ์ในอีกหลายสิบปีต่อมา นักวิทยาศาสตร์และนักศึกษาของพวกเขาเหล่านี้เขียนโปรแกรมที่หลายคนทึ่ง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ที่สามารถเอาชนะคนเล่นหมากรุก แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับคำด้วยพีชคณิต พิสูจน์ทฤษฎีทางตรรกวิทยา หรือแม้กระทั่งพูดภาษาอังกฤษได้ ผู้ก่อตั้งสาขาปัญญาประดิษฐ์กลุ่มนี้เชื่อมั่นในอนาคตของเทคโนโลยีใหม่นี้มาก โดยเฮอร์เบิร์ต ไซมอนคาดว่าจะมีเครื่องจักรที่สามารถทำงานทุกอย่างได้เหมือนมนุษย์ภายใน 20 ปีข้างหน้า และมาร์วิน มินสกีก็เห็นพ้องโดยการเขียนว่า "เพียงชั่วอายุคน ปัญหาของการสร้างความฉลาดเทียมจะถูกแก้ไขอย่างยั่งยืน"
เทคโนโลยี AI ในโลกยุคปัจจุบัน
หากผู้ถึง AI แล้วผู้คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงหุ่นยนต์ความคิดเหมือนกับมนุษย์ เหมือนในนิยายวิทยาศาสตร์หรือ หนัง Sci-Fi ที่เราดูกัน ซี่งตอนนี้มันไม่ได้เป็นเพียงแค่นิยายเพ้อฝันอีกแล้ว เพราะในโลกเรามีหุ่นยนต์แบบนั้นจริง ขอแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับหุ่นยนต์โซเฟีย (Sophia) หุ่นยนต์ AI ที่เรียกได้ว่าใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด เธอสามารถโต้ตอบได้เหมือนมนุษย์และได้ไปปรากฎตัวบนเวทีโลกมาแล้วหลายเวที และเธอยังเป็นหุ่นยนต์ตัวแรกของโลกที่ได้รับสัญชาติซาอุดิอาระเบีย แม้ว่าโซเฟียจะทำได้แค่พูดคุยตอบโต้กับผู้คนได้เท่านั้น แต่นี่ก็คือหลักฐานที่แสดงให้เห็นแล้ว AI สามารถมีความคิดความอ่านเหมือนมนุษย์ได้
Sophia มาเยือนประเทศไทยในงาน Manufacturing Expo 2018
นอกจากหุ่นยนต์โซเฟียแล้ว ยังมีหุ่นยนต์ AI ตัวอื่นๆ อยู่ด้วยเช่นกัน แม้ว่าบางตัวอาจไม่สามารถพูดคุยตอบโต้ได้เหมือนโซเฟีย แต่ว่าก็มีส่วนช่วยสำคัญในการดำเนินธุรกิจต่างๆ อาทิเช่นในธุรกิจโรงแรมในญี่ปุ่นมีการใช้หุ่นยนต์เข้ามาเป็นพนักงานประชาสัมพันธ์ คอยต้อนรับผู้เข้าพัก หรือ HapyBot หุ่นยนต์ขนส่งอัตโนมัติของประเทศไทยเราเอง เข้ามาใช้โรงพยาบาลเพื่อขนส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ เข่น ยา, วัคซีน, เลือด หรือ เอกสารคนไข้ เป็นต้น และนอกจากนี้ยังสามารถเป็นหุ่นยนต์นำทางให้แก่ผู้ป่วยได้ด้วย
ภาพงานแถลงข่าวการใช้ HapyBot รองรับคนไข้ในช่วงสถานการณ์ COVID-19
AI กับระบบรักษาความปลอดภัย
นอกจากด้านการแพทย์และธุรกิจแล้ว เทคโนโลยี AI ยังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบรักษาความปลอดภัย อาทิเช่น HP Robotcop หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย ที่ทำหน้าที่เป็นกล้องวงจรปิดเคลื่อนที่คอยสอดส่องเหตุการณ์บริเวณต่างที่อาจก่อให้เกิดอาชญากรรมได้ ทางด้านกล้องวงจรปิดเองก็มีนวัตกรรมจดจำใบหน้าและแยกแยะบุคคลได้ ซึ่งช่วยในการค้นหาตัวคนร้ายที่แอบหลบซ่อนอยู่ในฝูงชนได้เป็นอย่างดี และในสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ระบาด บริษัท Megvii เองก็ได้มีคิดค้นระบบตรวจจับอุณหภูมิร่างกายอัจฉริยะที่เรียกว่า Ming ji Mini ที่นอกจากจะวัดอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำแล้ว ยังสามารถแยกแยะใบหน้าบุคคลได้แม้ใส่หน้ากาก และยังทำงานร่วมกับระบบ Access Control หรือระบบบันทึกเวลาพนักงานได้ด้วย
Ming Ji Mini สามารถวัดอุณหภูมิแยกแยะและจดจำใบหน้าของแต่ละคนได้แม้ใส่หน้ากาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น