เป็นที่เรารู้กันดีอยู่แล้ว หมายเลข IP Address เป็นสิ่งที่ใช้ระบุตำแหน่งของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อรับส่งข้อมูล แน่นอนหมายเลขของแต่ละเครื่องจะไม่ซ้ำกัน แต่ว่าในปัจจุบันจำนวนอุปกรณ์นั้นมีเพิ่มมากขึ้น และการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตก็มากขึ้นเช่นกัน ทำให้หมายเลข IP ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ดังนั้น NAT จึงเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหา IP ของผู้ใช้เพื่อให้สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ และยังเพิ่มความปลอดภัยในเครือข่ายได้อีกด้วย
NAT คืออะไร
NAT เป็นคำที่ย่อมาจาก Network Address Translation เป็นมาตรฐานหนึ่งของ RFC ถูกเขียนขึ้นในปี 1994 โดยสามารถแปลง (translation) IP หลายๆ ตัวที่ใช้ภายในเครือข่ายให้ติดต่อกับเครือข่ายอื่นโดยใช้ IP เดียวกันตัวอย่างเช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา IP Address เป็น 192.168.1.28 ซึ่งเป็น Private IP ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลภายในองค์กรแต่เมื่อใดที่เราต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต เราเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ทำเป็น NAT Device จะแปลงหมายเลข IP นั้นเป็นหมายเลขอื่นเพื่อเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ต
สรุปก็คือ NAT เป็นการแปลงหมายเลข IP แบบ Private IP ให้กลายเป็น Public IP เพื่อให้สามารถเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งหมายเลขเหล่านี้จะเป็นหมายเลขแบบสุ่มที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) จะเป็นผู้กำหนดเอาไว้ให้ อีกทั้งการทำ NAT ยังช่วยในการรักษาความปลอดภัยให้แก่เครือข่ายภายในอีกด้วย คือสามารถใช้การทำ NAT สำหรับการซ่อน IP Address ของเครือข่ายแต่ละส่วนไว้ได้อีกด้วย
รูปแบบการทำ NAT
การทำ NAT หลักๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ดังต่อไปนี้
Static NAT
เป็นการแปลงหมายเลข IP Address แบบ one to one คือ IP Address ของเครื่องภายในหนึ่งหมายเลขจะทำการแปลงไปเป็น IP Address ของเครือข่ายภายนอกหนึ่งหมายเลข ส่วนมากจะใช้งานกับเครื่อง Server ที่อยู่ในเครือข่ายภายใน ที่ต้องการเข้าใช้งานจากเครือข่ายภายนอกเป็นการแปลงหมายเลข IP Address แบบ many to many คือ IP Address ของเครื่องภายในเครือข่ายหลาย ๆ เครื่องจะทำการแปลงไปเป็น IP Address ของเครือข่ายภายนอกหลาย ๆ หมายเลข โดยการแปลงหมายเลข IP Address นั้นจะทำตามลำดับ คือ IP Address ของเครื่องในเครือข่ายภายในที่มาก่อนก็จะทำการแปลงเป็น IP Address ของเครือข่ายภายนอกในอันดับต้น ๆ ก่อน โดยถ้ามี IP Address ของเครือข่ายภายนอก 3 IP Address เครื่องในเครือข่ายภายในก็จะสามารถติดต่อสื่อสารได้เพียง 3 เครื่องในเวลาหนึ่ง ๆ เท่ากัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น